วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ปฏิทินมายาทำนายว่า ปี ค.ศ. 2012 เป็นวาระสุดท้ายของโลกจริงหรือ?

ปฏิทินมายาทำนายว่า ปี ค.ศ. 2012 เป็นวาระสุดท้ายของโลกจริงหรือ?

ปฏิทินมายามีหลายแบบ แบบหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับปี ค.ศ. 2012 คือแบบที่เรียกกันว่า ปฏิทินรอบยาว (long count) ระบุวันด้วยชุดของตัวเลข ตัวเลขชุดนี้แทนวันที่ได้ยาวนาน 5,126 ปี เทียบกับวันที่ตามระบบปฏิทินสากลตั้งแต่ วันที่ 11 สิงหาคม 3114 ปีก่อนคริสต์กาลไปจนสุดจำนวนเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2012  อ่านเพิ่มเติมกดที่นี่
ที่มา : http://thaiastro.nectec.or.th/library/faqs/faq.php?faqid=135

ฝนดาวตกในปี 2553

ดาวตกเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นทุกคืน แสงของดาวตกเกิดจากสะเก็ดดาวซึ่งเป็นชิ้นส่วนของดาวหางและดาวเคราะห์น้อยเคลื่อนเข้าสู่บรรยากาศโลก หากสังเกตจากสถานที่ซึ่งท้องฟ้ามืดสนิท ไม่มีเมฆหมอก แสงจันทร์ และแสงไฟฟ้ารบกวน โดยทั่วไปสามารถมองเห็นดาวตกบนท้องฟ้าได้เฉลี่ยราว 6 ดวงต่อชั่วโมง ในหลายช่วงของปีจะมีดาวตกที่ดูเหมือนพุ่งออกมาจากบริเวณเดียวกันบนท้องฟ้า เรียกว่าฝนดาวตก (meteor shower)
ฝนดาวตกเกิดขึ้นเมื่อโลกเดินทางฝ่าเข้าไปในธารสะเก็ดดาวที่ดาวหางทิ้งไว้ ดาวตกที่เกิดจากสะเก็ดดาวเหล่านี้มีหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีลักษณะและจำนวนความถี่แตกต่างกันตามแต่องค์ประกอบและความเร็วของสะเก็ดดาว ฝนดาวตกบางกลุ่มอาจมีอัตราต่ำเพียงไม่กี่ดวงต่อชั่วโมงแต่ยังก็เรียกว่าฝนดาวตกเนื่องจากมีแหล่งกำเนิดที่สังเกตได้ว่าดูเหมือนพุ่งออกมาจากบริเวณหนึ่งบนท้องฟ้า จุดนั้นเรียกว่าจุดกระจายฝนดาวตก (radiant) มักเรียกชี่อฝนดาวตกตามกลุ่มดาวหรือดาวที่อยู่ในบริเวณจุดกระจายฝนดาวตก ฝนดาวตกกลุ่มสำคัญเกือบทั้งหมดในปีนี้มีแสงจันทร์รบกวน ที่น่าสนใจที่สุดคือฝนดาวตกเพอร์ซิอัสกับฝนดาวตกคนคู่
ฝนดาวตกในปี 2553
ชื่อคืนที่มีมากที่สุดเวลาที่เริ่มเห็น
(โดยประมาณ)
อัตราสูงสุด
ในภาวะอุดมคติ
(ดวง/ชั่วโมง)
อัตราสูงสุด
ในประเทศไทย
(ดวง/ชั่วโมง)
หมายเหตุ
ควอดแดรนต์3/4 ม.ค.02:00 น.120 (อาจอยู่ระหว่าง 60-200)8แสงจันทร์รบกวน
พิณ22/23 เม.ย.22:00 น.18 (อาจมากถึง 90)11แสงจันทร์รบกวน
ก่อน 02:00 น.
อีตาคนแบกหม้อน้ำ7/8 พ.ค.02:00 น.85 (อาจอยู่ระหว่าง 40-85)13แสงจันทร์รบกวน
เดลตาคนแบกหม้อน้ำ28/29 ก.ค.21:00 น.204แสงจันทร์รบกวน
เพอร์ซิอัส12/13 ส.ค.22:30 น.10056-
นายพราน21/22 ต.ค..22:30 น.3022แสงจันทร์รบกวน
สิงโต17/18 พ.ย.00:30 น.204แสงจันทร์รบกวน
ก่อน 03:00 น.
คนคู่13/14 ธ.ค.20:00 น.12050แสงจันทร์รบกวน
ก่อนเที่ยงคืน

หมายเหตุ
  • ตัวเลขในคอลัมน์อัตราสูงสุดในประเทศไทยคิดผลจากแสงจันทร์รบกวนแล้ว แต่ยังไม่คิดผลจากมลพิษทางแสง การสังเกตดาวตกในเมืองใหญ่จะมีจำนวนดาวตกลดลงจากตัวเลขในตารางนี้หลายเท่า
  • คอลัมน์ "คืนที่มีมากที่สุด" เครื่องหมาย / ใช้คั่นคืนวันแรกกับเช้ามืดของอีกวันหนึ่ง เช่น 3/4 หมายถึงคืนวันที่ 3 ถึงเช้ามืดวันที่ 4
  • ดัดแปลงจากข้อมูลฝนดาวตกโดยองค์การอุกกาบาตสากล (International Meteor Organization - IMO) และ Meteor Shower Flux Estimator โดย Peter Jenniskens

ฝนดาวตกเพอร์ซิอัส

ฝนดาวตกเพอร์ซิอัสหรือที่คนไทยอาจรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่าฝนดาวตกวันแม่เพราะมักเกิดในคืนวันที่ 12 สิงหาคม เป็นฝนดาวตกที่มีชื่อเสียงในประเทศตะวันตก โดยเฉพาะในละติจูดสูง ๆ เพราะจุดกระจายดาวตกจะขึ้นไปอยู่สูงเกือบกลางฟ้าในเวลาเช้ามืด อัตราการเกิดดาวตกสูงถึง 100 ดวงต่อชั่วโมง และเกิดในฤดูร้อนซึ่งท้องฟ้าโปร่ง แต่การสังเกตฝนดาวตกกลุ่มนี้ในประเทศไทยมักพบอุปสรรคจากเมฆเพราะเป็นฤดูฝน
สะเก็ดดาวในฝนดาวตกเพอร์ซิอัสมาจากดาวหาง 109 พี/สวิฟต์-ทัตเทิล (109P/Swift-Tuttle) ดาวหางดวงนี้เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ครั้งล่าสุดเมื่อ ค.ศ. 1992 เป็นดาวหางที่มีแนวโคจรผ่านใกล้โลก เคยตกเป็นข่าวว่ามีโอกาสชนโลก แต่ข้อมูลล่าสุดพบว่ามันจะใกล้โลกที่สุดในวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 2126 ด้วยระยะห่าง 0.153 หน่วยดาราศาสตร์ จุดกระจายดาวตกของฝนดาวตกเพอร์ซิอัสอยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างกลุ่มดาวเพอร์ซิอัสกับแคสซิโอเปีย เริ่มเห็นได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 4 ทุ่มครึ่ง แต่ยังมีดาวตกน้อย จะสังเกตได้ดีหลังเที่ยงคืนและดีที่สุดในช่วงที่จุดกระจายดาวตกอยู่สูงซึ่งตรงกับช่วง 1-2 ชั่วโมงก่อนท้องฟ้าสว่าง ความเร็วขณะเข้าสู่บรรยากาศโลกประมาณ 59 กม./วินาที

ฝนดาวตกคนคู่

ฝนดาวตกคนคู่เป็นฝนดาวตกที่น่าสนใจที่สุดเนื่องจากเกิดในฤดูหนาวที่ท้องฟ้าเปิดเป็นส่วนใหญ่และมีจำนวนมากทุกปี ปีนี้คาดว่าจะมีมากที่สุดในคืนวันจันทร์ที่ 13 ถึงเช้ามืดวันอังคารที่ 14 ธันวาคม โดยมีแสงจันทร์รบกวนในช่วงก่อนเที่ยงคืน จุดกระจายฝนดาวตกคนคู่อยู่ใกล้ดาวคาสเตอร์ในกลุ่มดาวคนคู่ ฝนดาวตกชุดนี้แตกต่างจากฝนดาวตกกลุ่มอื่นคือมีต้นกำเนิดจากดาวเคราะห์น้อย 3200 ฟีทอน (3200 Phaethon) ซึ่งน่าจะเคยเป็นดาวหางมาก่อน สามารถสังเกตดาวตกได้ตลอดทั้งคืนโดยเริ่มตั้งแต่เวลาหัวค่ำไปจนถึงเช้ามืด ดาวตกมักเกิดถี่มากที่สุดในช่วงประมาณตี 2 ซึ่งเป็นเวลาที่จุดกระจายฝนดาวตกอยู่สูงกลางฟ้า ความเร็วขณะเข้าสู่บรรยากาศโลกประมาณ 35 กม./วินาที ดาวตกจากฝนดาวตกคนคู่ส่วนใหญ่มีสีขาวและเหลือง สามารถพบดาวตกสว่างที่เรียกว่าลูกไฟได้ประมาณร้อยละ 5 ของดาวตกทั้งหมด

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ดาวเคราะห์น้อยอาจชนโลกในปี 2725

อะโพฟิส
โปรดจดจำและจับตาดาวเคราะห์น้อย 1999 อาร์คิว 36 (1999 RQ36) ให้ดี เพราะนักดาราศาสตร์จากสเปนพบว่า ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีโอกาสราว ใน 1,000 ที่จะพุ่งชนโลกใน พ.ศ. 2725 
          อย่าเพิ่งตื่นตระหนกกับตัวเลขนี้เกินไป เพราะโอกาสที่จะไม่ชนมีมากถึง 99.97200000 เปอร์เซ็นต์ 
          คณะนักดาราศาสตร์นำโดยมาเรีย ยูจีเนีย ซันซาตูเรียว จากมหาวิทยาลัยบายาโดลิด ได้ติดตามและประเมินโอกาสในการชนของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ไปจนถึงปี 2743 และได้ผลลัพท์ใหม่ที่แสดงโอกาสในการชนที่มากขึ้น จากการประเมินครั้งก่อนที่ประเมินว่ามีโอกาส ใน 1,400 ที่จะชนโลกระหว่าง พ.ศ. 2712 ถึง พ.ศ. 2742 อย่างไรก็ตาม เว็บไซต์เกี่ยวกับวัตถุใกล้โลกขององค์การนาซาได้ประเมินว่ามีโอกาสอยู่ระหว่าง ใน 3,850 กับ ใน 3,570 ที่จะชนโลกในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2725 
          ดาวเคราะห์น้อย 1999 อาร์คิว 36 เป็นเป้าหมายหนึ่งที่นักดาราศาสตร์สนใจที่จะส่งภารกิจสำรวจและเก็บตัวอย่างกลับโลก เพื่อที่จะได้เข้าใจองค์ประกอบของดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกได้ดีขึ้น โดยเฉพาะดวงที่มีแนวโน้มคุกคามโลกเช่นดวงนี้
          1999 อาร์คิว 36 มีขนาดประมาณ 560 เมตร หรือใหญ่กว่าดาวเคราะห์น้อยชื่อดังอย่างอะโพฟิส ที่เคยเป็นข่าวครึกโครมเนื่องจากมีโอกาสที่จะชนโลกใน พ.ศ. 2579 ถึงกว่าสองเท่า 
          สำหรับการประเมินล่าสุดของ อะโพฟิส พบว่าดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีโอกาส ใน 250,000 ที่จะชนโลกในปี 2579 และในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2572 จะเข้าเฉียดโลกด้วยระยะห่างเฉียดฉิวที่เป็นสถิติเพียง 29,300 กิโลเมตรเหนือพื้นโลกเท่านั้น 
          อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยอื่นอีกที่ทำให้การโคจรมีความไม่แน่นอน โดยเฉพาะผลกระทบจากแรงโน้มถ่วงเมื่อเข้าใกล้วัตถุหนักดวงอื่น นอกจากนี้ยังมีผลจากปรากฏการณ์ยาร์คอฟสกี ซึ่งเป็นผลจากความไม่สมดุลของรังสีความร้อนที่ตกกระทบบนดาวเคราะห์น้อยในแต่ละด้าน คาดว่าการวัดปริมาณของปัจจัยย่อยดังกล่าวจะเริ่มขึ้นในไม่กี่ปีข้างหน้านี้ 
          "นับว่าโชคดีที่เราค้นพบวัตถุดวงนี้ตั้งแต่เนิ่น ๆ หากเราค้นพบดาวเคราะห์น้อยดวงนี้หลัง พ.ศ. 2623 ระยะเวลาเตรียมตัวป้องกันจะกระชั้นมาก และขณะนี้เราก็ยังไม่มีเทคโนโลยีที่จะรับมือกับสถานการณ์ภายในเวลาสั้นอย่างนั้นได้" 
ซันซาตูเรียวกล่าว
          นักสำรวจคณะนี้ประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยปีซา เจพีแอลของนาซา และไอเอ็นเอเอฟ-ไอเอเอสเอฟ-โรม (INAF-IASF-Rome) ของอิตาลี
          ในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว องค์การนาซาได้เสนอภารกิจสำรวจดาวเคราะห์น้อยใหม่ ภารกิจนี้มีเป้าหมายในการสำรวจดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ มีชื่อว่า โอซิริส-เรกซ์ (OSIRIS-Rex--the Origins, Spectral Interpretation Resource Identification, and Security, Regolith Explorer) ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจของโครงการนิวฟรอนเทียร์  หากภารกิจนี้ผ่านการอนุมัติ ยานก็จะออกเดินทางขึ้นสู่อวกาศได้ในราวปี 2561 ภารกิจนี้จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับกำเนิดของระบบสุริยะ และอาจรวมถึงต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิต และอาจเป็นภารกิจแรก ๆ ที่จะได้เห็นว่าดาวเคราะห์น้อยเบี่ยงเบนเส้นทางโคจรได้อย่างไร

พบดาวเคราะห์ใหม่ ชื่อสุดเซ็กซี่








ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะแบบดาวพฤหัสบดี ตามจินตนาการของศิลปิน 

(จาก NASA/JPL-Caltech) 


เมื่อเดือนที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์จากคาลเทคได้รายงานว่า ค้นพบดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นดวงใหม่ ดวง ในจำนวนนี้ เป็นบริวารของดาวเอชดี 200964 สองดวง และเป็นบริวารของดาว 24 เซกซ์แทนต์อีกสองดวง
          ดาวเอชดี 200964 เป็นดาวฤกษ์อายุมากใกล้สิ้นอายุขัย อยู่ห่างจากโลก 223 ปีแสง ดาวเคราะห์สองดวงของดาวดวงนี้เป็นดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ที่มีมวลมากกว่าดาวพฤหัสบดีทั้งคู่ โคจรอยู่ห่างกันแค่ 52.3 ล้านกิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะใกล้กันมากที่สุดเท่าที่นักดาราศาสตร์เคยพบเห็น  ลองเปรียบเทียบกับดาวยักษ์คู่ระบบสุริยะของเรา ดาวพฤหัสบดีกับดาวเสาร์ อยู่ห่างกัน 531 ล้านกิโลเมตร
          เรื่องนี้เป็นสิ่งที่นักดาราศาสตร์ไม่เคยคิดว่าจะได้พบเห็น เพราะดาวเคราะห์ยักษ์ที่อยู่ใกล้กันมากเช่นนี้ มีโอกาสที่จะทำลายกันเองได้ง่ายหากโคจรผิดจังหวะ จึงเป็นที่น่าแปลกใจว่าดาวเคราะห์คู่นี้รอดมาได้อย่างไรถึงปัจจุบัน
          เนื่องจากดาวเคราะห์ทั้งสองเป็นดาวเคราะห์ใหญ่มาก และอยู่ใกล้กันมาก อิทธิพลด้านแรงดึงดูดที่มีต่อกันจึงสูงมาก เช่นกรณีของดาวเคราะห์แก๊สคู่นี้ ออกแรงดึงดูดกันแรงกว่าที่โลกดึงดูดดวงจันทร์ถึง 700 เท่า
          ส่วนดาวเคราะห์อีกคู่หนึ่งก็โคจรอยู่ใกล้กันมากเช่นกันที่ระยะ 112.6 ล้านกิโลเมตร แต่ดาวคู่นี้ดูเหมือนจะเป็นที่สนใจมากกว่า โดยเฉพาะต่อสื่อหรือบุคคลนอกวงการดาราศาสตร์ นั่นเพราะชื่อที่แสนสะดุดหูนั่นเอง
          ดาวเคราะห์สองดวงนี้ โคจรรอบดาวฤกษ์ที่ชื่อ 24 เซกซ์แทนต์ ซึ่งหมายถึงเป็นดาวฤกษ์ลำดับที่ 24 ในกลุ่มดาวเซกซ์แทนต์ ดาวดวงนี้อยู่ห่างจากโลก 244 ปีแสง 
          ตามธรรมเนียมทั่วไปการตั้งชื่อดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่น จะใช้ชื่อของดาวฤกษ์แม่นั้นขึ้นต้น แล้วต่อท้ายด้วยอักษรภาษาอังกฤษตัวเล็กหนึ่งตัว เริ่มตั้งแต่ตัวบี (b) ดวงแรกที่ค้นพบ ก็จะได้ตัวบี (b) ดวงที่สองก็ใช้ตัวซี (c) เช่นนี้เรื่อยไป ส่วนอักษรเอ (a) สงวนไว้สำหรับเรียกดาวฤกษ์แม่เอง
ในกรณีบริวารสองดวงของดาว 24 เซกซ์แทนต์ จึงได้ชื่อว่า 24 เซกซ์แทนต์บี (24 Sextantis b) และ 24 เซกซ์แทนต์ซี (24 Sextantis c) ซึ่งเขียนย่อได้เป็น 24 เซกซ์บี (24 Sex b) กับ 24 เซกซ์ซี (24 Sex c) ซึ่งนี่ก็คือที่มาของชื่อชวนสะดุดหูของดาวเคราะห์ดวงนี้นั่นเอง

ฮับเบิลถ่ายภาพซากการชนของดาวเคราะห์น้อยได้เป็นครั้งแรก

 เมื่อต้นปี กล้องโทรทรรศน์ได้จับภาพของวัตถุประหลาดโครงสร้างคล้ายดาวหางดวงหนึ่ง ซึ่งมีหางคล้ายดาวหาง แต่มีส่วนใกล้หัวเป็นรูปตัวเอกซ์ (X) ส่วนวัตถุแกนกลับอยู่นอกส่วนที่น่าจะเป็นหัว นักดาราศาสตร์เชื่อว่าสิ่งนั้นคือซากของดาวเคราะห์น้อยชนกัน
          จากการติดตามสำรวจมาเป็นเวลาห้าเดือน นักดาราศาสตร์ต้องประหลาดใจที่พบว่า เศษซากที่กระจายออกมาจากวัตถุแผ่ขยายออกด้วยอัตราช้ามาก จากอัตรานี้ แสดงว่า การพุ่งชนนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นเดือน 2552 แล้ว
          วัตถุนี้ได้ชื่อว่า พี/2010 เอ (P/2010 A2โคจรอยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อยหลัก 
          นักดาราศาสตร์ประเมินว่าในแถบดาวเคราะห์น้อยหลัก มีวัตถุขนาดกลางชนกันเฉลี่ยปีละหนึ่งครั้ง เมื่อวัตถุชนกัน จะสาดเศษฝุ่นกระจายออกไปทั่วอวกาศ ความถี่นี้นักดาราศาสตร์ได้มาจากการวัดปริมาณฝุ่นที่กระจัดกระจายอยู่ในระบบสุริยะร่วมกับแบบจำลองการชนของดาวเคราะห์น้อย 
          การสังเกตดาวเคราะห์น้อยชนกันทำได้ยากมากเนื่องจากการชนกันครั้งใหญ่เกิดขึ้นได้ยาก ส่วนการชนในขนาดย่อมลงมาที่อาจเกิดได้บ่อยกว่าแต่แสงก็จางมาก ดาวเคราะห์น้อยสองดวงที่มาชนกันจนเกิด พี/2010 เอ ก็ไม่เคยมีการบันทึกมาก่อนเหมือนกัน เนื่องจากแสงจางมากจนสังเกตไม่พบ 
          แม้ข้อมูลจากฮับเบิลจะสนับสนุนความเป็นไปได้สูงที่วัตถุลึกลับนี้จะเกิดจากดาวเคราะห์น้อยชนกัน แต่นักดาราศาสตร์ก็ยังไม่อาจตัดทฤษฎีอื่นออกไปได้ในขณะนี้ เช่นทฤษฎีหนึ่งอธิบายว่า วัตถุนี้เป็นดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็กที่หมุนควงเร็วขึ้นจากแรงจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ จนสาดฝุ่นผงบนดาวออกไปจนเป็นทางคล้ายหางดาวหางดังที่เห็น
          การสังเกตการณ์นี้มีความสำคัญต่อนักวิทยาศาสตร์มาก เพราะจะช่วยให้นักดาราศาสตร์ทราบว่าฝุ่นในระบบสุริยะเกิดมาจากอะไร และการชนกันของดาวเคราะห์น้อยจะสร้างฝุ่นขึ้นมาในวงโคจรมากน้อยเพียงใด ความรู้นี้ยังเป็นประโยชน์ในการสร้างแบบจำลองวงแหวนฝุ่นที่พบล้อมรอบดาวฤกษ์ดวงอื่น นักดาราศาสตร์พบวงแหวนฝุ่นรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นหลายแห่ง จานฝุ่นนี้เชื่อว่าเกิดจากการชนกันของวัตถุที่มองไม่เห็นในจานนั้น ดังนั้นถ้าเข้าใจว่าฝุ่นเกิดขึ้นมาได้อย่างไรก็ย่อมช่วยให้เข้าใจวัตถุต้นกำเนิดที่แฝงกายอยู่ในจานฝุ่นนั้นได้
          ฮับเบิลถ่ายภาพวัตถุดวงนี้ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนพฤษภาคม 2553 ด้วยกล้องดับเบิลยูเอฟซี อนุภาคในส่วนที่ดูคล้ายหางดาวหางนั้นคาดว่ามีขนาดตั้งแต่ 1/25 นิ้ว จนถึง นิ้ว
          นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่าวัตถุนี้เกิดขึ้นจากดาวเคราะห์น้อยขนาด 3-5 เมตรชนเข้ากับดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่งที่ใหญ่กว่าด้วยความเร็วที่อาจสูงถึง 17,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้ดาวเคราะห์ดวงเล็กแตกกระจายเป็นผุยผง เชื่อว่าการชนครั้งนั้นเกิดขึ้นในราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ปี 2552

การกำเนิดเอกภพ

การกำเนิดเอกภพ

มาดูรูปภาพกันก่อน  เป็นภาพอะไรบ้างน่า………
ภาพจาก http://server.thaigoodview.com/node/53522
ภาพในเอกภพและกาแล็กซีของเรา………
ต่อด้วยภาพ  กาแล็กซี่ทางช้างเผือก   ที่มีรูปร่างคล้ายจาน
ภาพจาก http://pirun.ku.ac.th/~b4703167/page3.html
มาดูความหมายดาราศาสตร์กัน
ดาราศาสตร์ (astronomy) คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับดวงดาวบนท้องฟ้า โลก ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบนท้องฟ้า และเทคโนโลยีอวกาศที่เกิดจากการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ประโยชน์ในอวกาศ วิชาดารา- ศาสตร์ช่วยทำให้มนุษย์เกิดความรู้ ความเข้าใจธรรมชาติ วัตถุ และปรากฏการณ์บนท้องฟ้า
ไฟล์:Astronomy Amateur 3 V2.jpg
ภาพจาก http://th.wikipedia.org/wiki/ไฟล์:Astronomy_Amateur_3_V2.jpg
เอกภพ (universe) คือ ระบบรวมของกาแล็กซี ซึ่งมีอยู่ประมาณ 100,000 ล้านกาแล็กซี ระหว่างกาแล็กซีเป็นอวกาศที่เวิ้งว้างกว้างไกล เอกภพมีรัศมีไม่น้อยกว่า 15,000 ล้านปีแสง มีอายุประมาณ 15,000 ล้านปี เอกภพจึงเป็นปริมณฑลอันกว้างใหญ่ไพศาล ไม่มีขอบเขต ทุกสิ่งทุกอย่างต้องอยู่ในเอกภพทั้งสิ้น
นักดาราศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า เอกภพเกิดจากการเปลี่ยนพลังงานเป็นสสาร มีอนุภาคพื้นฐานเกิดขึ้นตาม  ทฤษฎีบิกแบง บิกแบงจึงเป็นจุดเริ่มต้นของเวลาและเอกภพ ปัจจุบันทฤษฎีบิกแบงเป็นทฤษฎีกำเนิด          เอกภพทฤษฎีหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับกัน เพราะมีปรากฏการณ์หลายอย่างที่สอดคล้องกับทฤษฎีนี้ บิกแบงเป็นทฤษฎีที่อธิบายถึงการระเบิดครั้งใหญ่ และมีผลทำให้เกิดวิวัฒนาการต่อเนื่องจนกลายเป็นกาแล็กซี เนบิวลา ดาวฤกษ์ ระบบสุริยะ ดาวเคราะห์ โลก ดวงจันทร์ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ขั้นตอนของทฤษฎีบิกแบง  มีดังนี้
ภาพการเกิดบิกแบง
ที่มาภาพ http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=7265.msg58341
1. เอกภพเป็นพลังงานภายใต้อุณหภูมิสูง
2. เกิดบิกแบงหรือเกิดการระเบิดใหญ่ เป็นการระเบิดภายใต้สภาวะอุณหภูมิที่สูงมาก ทำให้พลังงานเปลี่ยนเป็นสสารเป็นครั้งแรก มีเนื้อสารเกิดขึ้นในรูปของอนุภาคพื้นฐาน ชื่อ ควาร์ก (quark) อิเล็กตรอน (electron) นิวทริโน (neutrino) และโฟตอน (photon) ซึ่งเป็นพลังงานด้วย ขณะเดียวกันก็เกิดปฏิอนุภาค (antiparticle) ที่มีประจุไฟฟ้าตรงข้าม ยกเว้นนิวทริโนและแอนตินิวทริโนที่ไม่มีประจุไฟฟ้า ช่วงเกิดบิกแบงอุณหภูมิประมาณ 1032 เคลวิน แต่ช่วงที่เกิดอนุภาคและปฏิอนุภาคมีอุณหภูมิประมาณ 1027 เคลวิน
3. เมื่อปฏิอนุภาคพบกับอนุภาคชนิดเดียวกันจะหลอมรวมกัน ถ้าอนุภาคและปฏิอนุภาคมีจำนวน เท่ากันพอดีมวลจะเปลี่ยนเป็นพลังงานจนหมด แต่เนื่องจากจำนวนอนุภาคมีมากกว่าจำนวนปฏิอนุภาค นอก จากจะเกิดพลังงานแล้วยังเหลืออนุภาคที่ก่อกำเนิดเป็นสสารของเอกภพด้วย
4. หลังบิกแบงเพียง 1,026 วินาที อุณหภูมิของเอกภพลดลงเป็น 1,013 เคลวิน ทำให้ควาร์กเกิดการ รวมตัวกันกลายเป็นโปรตอน (นิวเคลียสของไฮโดรเจน) และนิวตรอน
5. หลังบิกแบง 3 นาที อุณหภูมิของเอกภพลดลงเป็น 108 เคลวิน โปรตอนและนิวตรอนจะรวมตัวกันเป็นนิวเคลียสของฮีเลียม ในช่วงแรกๆ นี้เอกภพขยายตัวเร็วมาก
6. หลังบิกแบง 300,000 ปี อุณหภูมิลดลงเหลือ 104 เคลวิน นิวเคลียสของไฮโดรเจนและนิวเคลียสของฮีเลียมจะดึงอิเล็กตรอนเข้ามาอยู่ในวงโคจร เกิดเป็นอะตอมของไฮโดรเจนและอะตอมของฮีเลียม
7. หลังบิกแบง 1,000 ล้านปี เกิดเป็นกาแล็กซีต่างๆ ภายในกาแล็กซีมีธาตุไฮโดรเจนและฮีเลียมในสถานะแก๊สเป็นสารเบื้องต้นซึ่งก่อกำเนิดเป็นดาวฤกษ์ในรุ่นแรก ไฮโดรเจนและฮีเลียมจึงเป็นธาตุที่มีมากที่สุดในเอกภพปัจจุบัน ในอัตราส่วน 3 : 1 จวบจนปัจจุบัน และแก๊สภายในกาแล็กซีจะรวมตัวกันด้วยแรงโน้มถ่วงก่อกำเนิดเป็นดาวฤกษ์จำนวนมาก
รูปแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิและช่วงเวลาในการเกิดเอกภพตามทฤษฎีบิกแบง
ที่มาภาพจาก http://www.maceducation.com/e-knowledge/2502201100/11.htm
ทฤษฎีสภาวะคงตัว (the steady state theory)
เป็นอีกแนวความคิดหนึ่งที่เสนอขึ้นมาเพื่ออธิบายกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ โดยเสนอว่า เอกภพมีสภาวะคงตัวไม่เปลี่ยนแปลง แม้ดวงดาว กาแล็กซีจะมีการดับสูญ แต่ก็มีดาวและกาแล็กซีเกิดขึ้นทดแทน ทฤษฎีนี้ต่อมาเสื่อมความนิยม นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่กลับมาเชื่อทฤษฎีบิกแบง ด้วยประจักษ์พยานดังนี้
1. การขยายตัวของเอกภพ เอ็ดวิน เพาเวล ฮับเบิล นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันค้นพบว่า กาแล็กซีจะเคลื่อนที่ไกลออกไปด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นตามระยะห่าง กาแล็กซีที่อยู่ไกลเคลื่อนที่ห่างออกไปเร็วกว่ากาแล็กซี ที่อยู่ใกล้ แสดงว่าเอกภพกำลังขยายตัวตรงตามทฤษฎีบิกแบง การขยายตัวของเอกภพทำให้ความหนาแน่นของเอกภพลดลง นั่นคือเอกภพไม่สามารถดำรงสภาวะคงตัวไว้ได้ ค้านกับทฤษฎีสภาวะคงตัว จึงทำให้ทฤษฎีสภาวะคงตัวเสื่อมความนิยม จากความรู้เรื่องการขยายตัวของเอกภพนี้เอง ทำให้นักดาราศาสตร์สามารถคำนวณหาอายุของเอกภพได้
ภาพการขยายตัวของเอกภพ

2. อุณหภูมิพื้นหลังของเอกภพ ในปี พ.ศ. 2508 อาร์โน เพนเซียส และโรเบิร์ต วิลสัน นักวิทยาศาสตร์ ชาวอเมริกัน ได้ค้นพบอุณหภูมิของเอกภพหรืออุณหภูมิพื้นหลังโดยบังเอิญ ในขณะทดสอบระบบเครื่องรับสัญญาณของกล้องโทรทรรศน์วิทยุ ปรากฏว่ามีสัญญาณรบกวนตลอดเวลา แม้ว่าจะเปลี่ยนทิศทางและทำความสะอาดสายอากาศแล้วก็ตาม ต่อมาจึงทราบว่าเป็นสัญญาณที่เหลืออยู่ในอวกาศเทียบได้กับพลังงานของการ แผ่รังสีของวัตถุดำที่มีอุณหภูมิประมาณ 3 เคลวิน หรือประมาณ 2270 องศาเซลเซียส ซึ่งตรงกับค่าที่ได้จากการคำนวณตามทฤษฎีบิกแบง ในขณะเดียวกันโรเบิร์ต ดิกเกอร์ พี.เจ.อี. พีเบิลส์ เดวิด โรลล์ และเดวิด วิลคินสัน แห่งมหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน ได้ทำนายว่า การแผ่รังสีจากบิกแบงที่เหลืออยู่ในปัจจุบันน่าจะตรวจสอบได้โดยใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุ จึงเป็นข้อสนับสนุนข้อมูลของเอ็ดวิน เพาเวล ฮับเบิล
ภาพอุณหภูมิของรังสีไมโครเวฟพื้นหลังของเอกภพ