วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ฝนดาวตกในปี 2555

ดาวตกเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ เรามีโอกาสเห็นดาวตกได้ทุกคืน แสงของดาวตกเกิดจากการที่สะเก็ดดาว (meteoroid) ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของดาวหางและดาวเคราะห์น้อยเคลื่อนเข้าสู่บรรยากาศโลก หากสังเกตจากสถานที่ซึ่งท้องฟ้ามืดสนิท ไม่มีเมฆหมอก แสงจันทร์ และแสงไฟฟ้ารบกวน โดยทั่วไปสามารถมองเห็นดาวตกบนท้องฟ้าได้เฉลี่ยราว 6 ดวงต่อชั่วโมง ดาวตกที่สว่างมาก ๆ เรียกว่าลูกไฟ (fireball)
เส้นทางที่สะเก็ดดาวจำนวนมากเคลื่อนที่เป็นสายไปในแนวเดียวกันในอวกาศเรียกว่าธารสะเก็ดดาว (meteoroid stream) แรงโน้มถ่วงของวัตถุต่าง ๆ ในระบบสุริยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดาวเคราะห์ ส่งผลรบกวนต่อธารสะเก็ดดาว เมื่อโลกเดินทางฝ่าเข้าไปในธารสะเก็ดดาว ซึ่งเกิดขึ้นหลายช่วงของปี จะทำให้เห็นดาวตกหลายดวงดูเหมือนพุ่งออกมาจากบริเวณเดียวกันบนท้องฟ้า (เป็นมุมมองในเชิงทัศนมิติ ลักษณะเดียวกับที่เราเห็นรางรถไฟบรรจบกันที่ขอบฟ้า) เรียกปรากฏการณ์นี้ว่าฝนดาวตก (meteor shower) ในรอบปีมีฝนดาวตกหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีลักษณะและจำนวนความถี่แตกต่างกันตามแต่องค์ประกอบและความเร็วของสะเก็ดดาว ฝนดาวตกบางกลุ่มอาจมีเพียงไม่กี่ดวงต่อชั่วโมง แต่ยังก็เรียกว่าฝนดาวตก
ดาวตกจากฝนดาวตกสามารถปรากฏในบริเวณใดก็ได้ทั่วท้องฟ้า แต่เมื่อลากเส้นย้อนไปตามแนวของดาวตก จะไปบรรจบกันที่จุดหนึ่ง เรียกจุดนั้นว่าจุดกระจายฝนดาวตก (radiant) ชี่อฝนดาวตกมักตั้งตามกลุ่มดาวหรือดาวที่อยู่บริเวณจุดกระจายนี้ แสงจันทร์และแสงจากตัวเมืองเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการสังเกตดาวตก จึงควรหาสถานที่ที่ฟ้ามืด ยิ่งฟ้ามืดก็จะยิ่งมีโอกาสเห็นดาวตกมากขึ้น
การสังเกตดาวตกด้วยตาเปล่าเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ไม่ต้องมีอุปกรณ์ใด ๆ เพียงแต่ต้องเตรียมตัวรับกับสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมตามสถานการณ์ ก่อนสังเกตดาวตกต้องรอให้ดวงตาของเราชินกับความมืดเสียก่อนซึ่งใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที นอกจากการสังเกตด้วยตาเปล่า นักดาราศาสตร์ยังใช้กล้องโทรทรรศน์ กล้องสองตา การถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอ และการสังเกตด้วยคลื่นวิทยุ แม้ว่าขอบเขตภาพของกล้องโทรทรรศน์และกล้องสองตาจะแคบกว่าการดูด้วยตาเปล่า แต่ก็ช่วยให้มองเห็นดาวตกที่จาง ๆ ได้ และมักใช้หาตำแหน่งที่แม่นยำของจุดกระจาย
ภาพถ่ายดาวตกช่วยให้นักดาราศาสตร์สามารถคำนวณตำแหน่งที่แม่นยำของมันได้ เลนส์ปกติมีศักยภาพในการจับภาพดาวตกที่สว่างกว่าโชติมาตร 1 ภาพดาวตกดวงเดียวกันจากจุดสังเกตการณ์หลายจุด สามารถใช้คำนวณหาเส้นทางการโคจรของสะเก็ดดาวในอวกาศ การบันทึกภาพดาวตกด้วยกล้องถ่ายวิดีโอก็ใช้ในการศึกษาดาวตกด้วยเช่นกัน แต่ต้องมีอุปกรณ์ช่วยเพิ่มความเข้มของแสง
ควันค้าง (persistent train) คือ ปรากฏการณ์ที่ดูเหมือนควันลอยค้างบนท้องฟ้าตรงจุดที่ดาวตกหายวับไป ศัพท์คำนี้ยังไม่มีการใช้แพร่หลายในภาษาไทย จึงขอเรียกว่าควันค้างตามลักษณะที่ปรากฏไปพลางก่อน ควันค้างเกิดจากการเรืองแสงในบรรยากาศชั้นบน โดยมีดาวตกเป็นตัวการทำให้โมเลกุลในบรรยากาศแตกตัวเป็นไอออน ความเข้มและอายุของควันค้างขึ้นอยู่กับขนาด องค์ประกอบ และความเร็วของดาวตก ลูกไฟซึ่งเกิดจากสะเก็ดดาวขนาดใหญ่มักก่อให้เกิดควันค้างอยู่อย่างนั้นนานหลายนาที ก่อนจะเปลี่ยนรูปร่าง จางลง และสลายตัวไปในที่
ฝนดาวตกในปี 2555
ฝนดาวตกช่วงที่ตกคืนที่มีมากที่สุดเวลาที่เริ่มเห็น
(ประมาณ)
อัตราสูงสุด
ในภาวะอุดมคติ
(ดวง/ชั่วโมง)
อัตราสูงสุด
ในประเทศไทย
(ดวง/ชั่วโมง)
หมายเหตุ
ควอดแดรนต์28 ธ.ค. - 12 ม.ค.3/4 ม.ค.02:00 น.120
(60-200)
20-
พิณ16-25 เม.ย.21/22 เม.ย.22:00 น.1810-15-
อีตาคนแบกหม้อน้ำ19 เม.ย. - 28 พ.ค.4/5 พ.ค.02:00 น.70
(40-85)
20-30แสงจันทร์รบกวน
เดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้12 ก.ค. - 23 ส.ค.28/29/30 ก.ค.21:00 น.1610แสงจันทร์รบกวน
ก่อนตี 2
เพอร์ซิอัส17 ก.ค. - 24 ส.ค.12/13 ส.ค.22:30 น.10040-50แสงจันทร์รบกวน
หลังตี 2
นายพราน2 ต.ค. - 7 พ.ย.20/21/22 ต.ค.22:30 น.2520แสงจันทร์รบกวน
ก่อนเที่ยงคืน
สิงโต6-30 พ.ย.16/17/18 พ.ย.00:30 น.10-2010-15-
คนคู่7-17 ธ.ค.13/14 ธ.ค.20:00 น.12090-100-

หมายเหตุ
  • ภาวะอุดมคติหมายถึงจุดกระจายฝนดาวตกอยู่ที่จุดเหนือศีรษะและท้องฟ้ามืดจนเห็นดาวได้ถึงโชติมาตร +6.5
  • คอลัมน์ "คืนที่มีมากที่สุด" เครื่องหมายทับ (/) ใช้คั่นคืนวันแรกกับเช้ามืดของอีกวันหนึ่ง เช่น 3/4 หมายถึงคืนวันที่ 3 ถึงเช้ามืดวันที่ 4
  • ตัวเลขอัตราตกสูงสุดในประเทศไทยคิดผลจากแสงจันทร์รบกวนแล้ว แต่ยังไม่คิดผลจากมลพิษทางแสง การสังเกตดาวตกในเมืองใหญ่จะมีจำนวนดาวตกลดลงจากตัวเลขในตารางนี้หลายเท่า
  • ดัดแปลงจากข้อมูลฝนดาวตกโดยองค์การอุกกาบาตสากล (International Meteor Organization - IMO) และ Meteor Shower Flux Estimator โดย Peter Jenniskens

ฝนดาวตกควอดแดรนต์ (Quadrantid อักษรย่อ QUA)

ฝนดาวตกควอดแดรนต์เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม-12 มกราคม เมื่อสังเกตจากประเทศไทยคาดว่าจะมีมากที่สุดในช่วงเช้ามืดวันพุธที่ 4 มกราคม 2555 เป็นช่วงครึ่งหลังของข้างขึ้น ดวงจันทร์สว่างค่อนดวงตกลับขอบฟ้าไปตั้งแต่เวลาประมาณตี 2 ซึ่งเป็นเวลาที่จุดกระจายฝนดาวตกเริ่มขึ้นมาที่ขอบฟ้าทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ฝนดาวตกควอดแดรนต์มีชื่อตามกลุ่มดาวควอดแดรนต์ (Quadrans Muralis) ซึ่งเป็นกลุ่มดาวเก่า ปัจจุบันไม่มีแล้ว จุดกระจายดาวตกอยู่บริเวณตรงกลางระหว่างกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส คนเลี้ยงสัตว์ และมังกร ฝนดาวตกควอดแดรนต์มีจำนวนสูงสุดราววันที่ 3-4 มกราคม ของทุกปี ประเทศที่เห็นฝนดาวตกกลุ่มนี้ได้ดีที่สุดคือประเทศในละติจูดสูง ๆ ของซีกโลกเหนือ
นักดาราศาสตร์ค้นพบฝนดาวตกควอดแดรนต์เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ไม่พบว่าวัตถุใดคือต้นกำเนิด จนกระทั่ง ค.ศ. 2003 เมื่อมีการค้นพบดาวเคราะห์น้อย 2003 อีเอช 1 (2003 EH1) ซึ่งวงโคจรใกล้เคียงกับดาวตกที่มาจากฝนดาวตกกลุ่มนี้ และยังพบว่ามันอาจเป็นชิ้นส่วนหรือเป็นวัตถุเดียวกับดาวหางซี/1490 วาย 1 (C/1490 Y1) ที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์เมื่อปลาย ค.ศ. 1490
อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติของฝนดาวตกควอดแดรนต์สูงถึง 120 ดวงต่อชั่วโมง (แปรผันได้ระหว่าง 60-200) แต่มีช่วงเวลาสั้น แสดงว่าธารสะเก็ดดาวค่อนข้างแคบมาก ปีนี้คาดว่าโลกจะผ่านใกล้ธารสะเก็ดดาวในวันที่ 4 มกราคม เวลา 14:20 น. จากเวลานี้ คาดว่าพื้นที่ที่สังเกตฝนดาวตกควอดแดรนต์ได้ดีที่สุดคือแถบตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกาเหนือ กรีนแลนด์ ไอซ์แลนด์ และด้านตะวันตกสุดของยุโรป ประเทศไทยเริ่มสังเกตได้ตั้งแต่ตี 2 โดยอัตราตกจะต่ำมากในช่วงแรก หลังจากนั้นค่อย ๆ เพิ่มขึ้น เวลาที่น่าจะเห็นดาวตกได้มากที่สุดคือช่วง 04:30 - 05:30 น. ภายใต้ฟ้ามืดและไร้เมฆ ใน 1 ชั่วโมงนี้อาจนับได้ราว 20 ดวง

ฝนดาวตกพิณ (Lyrid อักษรย่อ LYR)

ฝนดาวตกพิณเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 16-25 เมษายน เมื่อสังเกตจากประเทศไทยคาดว่าจะมีมากที่สุดในคืนวันเสาร์ที่ 21 เมษายน ถึงเช้ามืดวันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน 2555 ซึ่งตรงกับช่วงจันทร์ดับ
ฝนดาวตกพิณตั้งชื่อตามกลุ่มดาวพิณ (Lyra) มีจำนวนสูงสุดราววันที่ 21-22 เมษายน ของทุกปี อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติอยู่ที่ 18 ดวงต่อชั่วโมง (เคยสูงถึง 90 ในช่วงเวลาสั้น ๆ เมื่อ พ.ศ. 2525) ค้นพบเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ต้นกำเนิดของฝนดาวตกพิณคือดาวหางแทตเชอร์ (C/1861 G1 Thatcher) เป็นดาวหางที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบ 415 ปี เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2404 นักดาราศาสตร์ค้นพบใน 6 ปีต่อมาว่าตำแหน่งที่โลกอยู่ ณ วันที่ 20 เมษายน ของทุกปี เป็นตำแหน่งที่วงโคจรของดาวหางอยู่ห่างจากโลกเพียง 0.002 หน่วยดาราศาสตร์ หลังจากนั้นได้พบหลักฐานในบันทึกของจีน กล่าวถึงฝนดาวตกพิณเมื่อ 687 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ปีนี้คาดว่าโลกจะผ่านใกล้ธารสะเก็ดดาวในวันที่ 22 เมษายน เวลา 12:30 น. จากเวลานี้ พื้นที่ที่สังเกตได้ดีที่สุดคือด้านตะวันออกของอเมริกาเหนือ ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกาใต้ และด้านตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกา อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลในอดีตแสดงว่าเวลาอาจเร็วหรือช้ากว่านั้นได้ โดยอยู่ในช่วง 04:30 - 15:30 น. ประเทศไทยเริ่มสังเกตได้ตั้งแต่ 4 ทุ่ม โดยอัตราตกค่อย ๆ เพิ่มขึ้น คาดว่าเวลาเที่ยงคืนถึงเช้ามืดวันที่ 22 เมษายน น่าจะเห็นดาวตกได้ด้วยอัตรา 10-15 ดวงต่อชั่วโมง

ฝนดาวตกอีตาคนแบกหม้อน้ำ (Eta Aquariid อักษรย่อ ETA)

ฝนดาวตกอีตาคนแบกหม้อน้ำเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 19 เมษายน - 28 พฤษภาคม เมื่อสังเกตจากประเทศไทยคาดว่าจะมีมากที่สุดในช่วงเช้ามืดวันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม 2555 ซึ่งตรงกับปลายข้างขึ้น ดวงจันทร์สว่างเกือบเต็มดวง จึงมีแสงจันทร์รบกวน
ฝนดาวตกอีตาคนแบกหม้อน้ำตั้งชื่อตามดาวอีตา (η) ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (Aquarius) มีจำนวนสูงสุดราววันที่ 4-5 พฤษภาคม ของทุกปี อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติอยู่ที่ 70 ดวงต่อชั่วโมง (แปรผันได้ระหว่าง 40-85) ต้นกำเนิดของฝนดาวตกพิณคือดาวหางแฮลลีย์ (1P/Halley) เป็นดาวหางที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบประมาณ 76 ปี เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2529 ดาวหางแฮลลีย์ทำให้เกิดฝนดาวตกอีกกลุ่มหนึ่งในเดือนตุลาคมด้วย
ปีนี้คาดว่าโลกจะผ่านใกล้ธารสะเก็ดดาวในวันที่ 6 พฤษภาคม เวลาประมาณ 2 น. จากเวลานี้ พื้นที่ที่สังเกตได้ดีที่สุดคือกลางมหาสมุทรแปซิฟิก (แต่มีแสงจันทร์รบกวน) สำหรับประเทศไทย จุดกระจายขึ้นมาเหนือขอบฟ้าในเวลาตี 2 เวลาที่มีโอกาสเห็นดาวตกได้มากที่สุดคือช่วง 04:00 - 05:00 น. หากท้องฟ้าโปร่งอาจนับได้ราว 20-30 ดวง โดยพยายามหันหลังให้ดวงจันทร์ หรือเลือกตำแหน่งที่มีอาคารบ้านเรือนหรือต้นไม้บังทิศที่ดวงจันทร์อยู่ เพื่อไม่ให้แสงจันทร์เข้าตา

ฝนดาวตกเดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้ (Southern Delta-Aquariids อักษรย่อ SDA)

ฝนดาวตกเดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 12 กรกฎาคม - 23 สิงหาคม เมื่อสังเกตจากประเทศไทยคาดว่าจะมีมากที่สุดใน 2 คืน ได้แก่คืนวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม ถึงเช้ามืดวันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม 2555 และคืนวันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม ถึงเช้ามืดวันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม 2555 ซึ่งตรงกับครึ่งหลังของข้างขึ้น ดวงจันทร์มีส่วนสว่างมากกว่าครึ่งดวง
ฝนดาวตกเดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้ตั้งชื่อตามดาวเดลตา (δ) ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (Aquarius) มีจำนวนสูงสุดราววันที่ 29-30 กรกฎาคม ของทุกปี อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติอยู่ที่ 16 ดวงต่อชั่วโมง ค้นพบเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ต้นกำเนิดคือดาวหางมัคโฮลซ์ (96P/Machholz) เป็นดาวหางที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบ 5 ปี ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2529 เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2550 ปีนี้ดาวหางมัคโฮลซ์จะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ดาวตกจากฝนดาวตกกลุ่มนี้มีความสว่างน้อย เมื่อเทียบกับฝนดาวตกกลุ่มหลักกลุ่มอื่น ๆ
ปีนี้คาดว่าโลกจะผ่านใกล้ธารสะเก็ดดาวของฝนดาวตกกลุ่มนี้ในวันที่ 30 กรกฎาคม จุดกระจายขึ้นเหนือขอบฟ้าในเวลาประมาณ 3 ทุ่ม อัตราตกจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น คาดว่าเวลาตี 2 ถึงก่อนฟ้าสาง (ของทั้ง 2 คืน) น่าจะเห็นดาวตกได้ราว 10 ดวงต่อชั่วโมง

ฝนดาวตกเพอร์ซิอัส (Perseid อักษรย่อ PER)

ฝนดาวตกเพอร์ซิอัสเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 17 กรกฎาคม - 24 สิงหาคม เมื่อสังเกตจากประเทศไทยคาดว่าจะมีมากที่สุดในคืนวันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม ถึงเช้ามืดวันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม 2555 ซึ่งเป็นครึ่งหลังของข้างแรม แสงจันทร์เริ่มรบกวนตั้งแต่ประมาณตี 2 แต่ไม่มากนักเนื่องจากดวงจันทร์เป็นเสี้ยว
ฝนดาวตกเพอร์ซิอัสหรือฝนดาวตกวันแม่ เป็นฝนดาวตกที่มีชื่อเสียงในประเทศตะวันตก โดยเฉพาะในละติจูดสูง ๆ ทางเหนือ ซึ่งจุดกระจายดาวตกจะขึ้นไปอยู่สูงเกือบกลางฟ้าในเวลาเช้ามืด อัตราการเกิดดาวตกสูงถึงกว่า 100 ดวงต่อชั่วโมง และเกิดในฤดูร้อนซึ่งท้องฟ้าโปร่ง แต่การสังเกตฝนดาวตกกลุ่มนี้ในประเทศไทยมักพบอุปสรรคจากเมฆเพราะเป็นฤดูฝน
ฝนดาวตกเพอร์ซิอัสมีต้นกำเนิดมาจากดาวหางสวิฟต์-ทัตเทิล (109P/Swift-Tuttle) ดาวหางดวงนี้เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2535 มีคาบ 130 ปี จุดกระจายฝนดาวตกเพอร์ซิอัสอยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างกลุ่มดาวเพอร์ซิอัสกับแคสซิโอเปีย เริ่มเห็นได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 4 ทุ่มครึ่ง แต่ยังมีน้อย จะสังเกตได้ดีหลังเที่ยงคืนและดีที่สุดในช่วงที่จุดกระจายดาวตกอยู่สูงซึ่งตรงกับช่วง 1-2 ชั่วโมงก่อนท้องฟ้าสว่างในเวลาเช้ามืด
ปีนี้คาดว่าโลกจะผ่านใกล้ธารสะเก็ดดาวของฝนดาวตกเพอร์ซิอัสในช่วงเวลาตั้งแต่ 14 น. ของวันที่ 12 สิงหาคม ถึง 2 น. ของวันที่ 13 สิงหาคม ประเทศไทยเริ่มสังเกตได้ตั้งแต่ 4 ทุ่มครึ่ง โดยอัตราตกค่อย ๆ เพิ่มขึ้น เมื่อสังเกตตั้งแต่เวลาตี 2 เป็นต้นไปของเช้ามืดวันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม คาดว่าอัตราตกอยู่ที่ 30-40 ดวงต่อชั่วโมง, เช้ามืดวันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม อัตราตกสูงสุดที่ 40-50 ดวงต่อชั่วโมง, และเช้ามืดวันอังคารที่ 14 สิงหาคม ลดลงไปที่ 30 ดวงต่อชั่วโมง

ฝนดาวตกนายพราน (Orionid อักษรย่อ ORI)

ฝนดาวตกนายพรานเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม - 7 พฤศจิกายน เมื่อสังเกตจากประเทศไทยคาดว่าจะมีมากที่สุดในคืนวันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม ถึงเช้ามืดวันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม 2555 และคืนวันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม ถึงเช้ามืดวันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม 2555 ซึ่งตรงกับข้างขึ้น ดวงจันทร์สว่างครึ่งดวง รบกวนการดูดาวตกก่อนเที่ยงคืน
ฝนดาวตกนายพรานตั้งชื่อตามกลุ่มดาวนายพราน (Orion) มีอัตราตกสูงสุดราววันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปี อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติอยู่ที่ 25 ดวงต่อชั่วโมง (ช่วง พ.ศ. 2549 - 2552 อัตราตกได้เพิ่มสูงผิดปกติไปอยู่ที่ 40-70 ดวงต่อชั่วโมงติดต่อกัน 2 หรือ 3 วัน) ต้นกำเนิดฝนดาวตกนายพรานคือดาวหางแฮลลีย์ (1P/Halley) เป็นดาวหางที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบประมาณ 76 ปี เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2529
ปีนี้คาดว่าโลกจะผ่านใกล้ธารสะเก็ดดาวในวันที่ 21 ตุลาคม จุดกระจายขึ้นมาเหนือขอบฟ้าในเวลา 4 ทุ่มครึ่ง เวลาที่มีโอกาสเห็นดาวตกได้มากที่สุดคือช่วง 03:00 - 05:00 น. โดยคาดว่าอัตราตกทั้ง 2 วันในช่วงเวลาดังกล่าวอาจอยู่ที่ 20 ดวงต่อชั่วโมง

ฝนดาวตกสิงโต (Leonid อักษรย่อ LEO)

ฝนดาวตกสิงโตเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 6-30 พฤศจิกายน เมื่อสังเกตจากประเทศไทยคาดว่าจะมีมากที่สุดในเช้ามืดวันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน และเช้ามืดวันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน 2555 ซึ่งตรงกับข้างขึ้นอ่อน ๆ ดวงจันทร์เป็นเสี้ยวอยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ จึงไม่รบกวนการดูดาวตก
ฝนดาวตกสิงโตตั้งชื่อตามกลุ่มดาวสิงโต (Leo) มีอัตราตกสูงสุดราววันที่ 17 พฤศจิกายน ของทุกปี อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติอยู่ที่ 10-20 ดวงต่อชั่วโมง ต้นกำเนิดฝนดาวตกสิงโตคือดาวหางเทมเพล-ทัตเทิล (55P/Tempel-Tuttle) เป็นดาวหางที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบประมาณ 120 ปี เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2541 ธารสะเก็ดดาวของฝนดาวตกสิงโตมีหลายสาย ทำให้บางปีมีอัตราตกสูงมาก สำหรับปีนี้โลกไม่ได้ผ่านใกล้ธารสะเก็ดดาวที่สำคัญ คาดว่าไม่น่าจะมีอัตราตกสูงเกินกว่าระดับปกติ
ปีนี้โลกจะผ่านระนาบวงโคจรของดาวหางเทมเพล-ทัตเทิลในวันที่ 17 พฤศจิกายน เวลา 16:30 น. จุดกระจายขึ้นมาเหนือขอบฟ้าในเวลาเที่ยงคืนครึ่ง เวลาที่มีโอกาสเห็นดาวตกได้มากที่สุดคือช่วง 03:00 - 05:00 น. ภายใต้ท้องฟ้ามืดและปราศจากเมฆหมอกรบกวน คาดว่าอัตราตกทั้ง 2 วันในช่วงเวลาดังกล่าวจะอยู่ที่ 10-15 ดวงต่อชั่วโมง

ฝนดาวตกคนคู่ (Geminid อักษรย่อ GEM)

ฝนดาวตกคนคู่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 7-17 ธันวาคม เมื่อสังเกตจากประเทศไทยคาดว่าจะมีมากที่สุดในคืนวันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม ถึงเช้ามืดวันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม 2555 ซึ่งเป็นคืนเดือนมืดตรงกับจันทร์ดับ ฝนดาวตกคนคู่เกิดในฤดูหนาวที่ท้องฟ้าเปิดเป็นส่วนใหญ่และมีจำนวนมากหลายสิบดวงต่อชั่วโมง หากไม่มีฝนหลงฤดู ปีนี้เป็นปีที่ดีมากปีหนึ่งในการสังเกตฝนดาวตกคนคู่
ฝนดาวตกคนคู่ตั้งชื่อตามกลุ่มดาวคนคู่ (Gemini) จุดกระจายดาวตกอยู่ใกล้ดาวคาสเตอร์ ตกสูงสุดราววันที่ 13-15 ธันวาคม ของทุกปี ด้วยอัตราตกในภาวะอุดมคติที่ 120 ดวงต่อชั่วโมง ฝนดาวตกคนคู่เกิดจากดาวเคราะห์น้อย 3200 เฟทอน (3200 Phaethon) ซึ่งคาดว่าเคยเป็นดาวหางมาก่อน
ปีนี้คาดว่าโลกจะผ่านใกล้ธารสะเก็ดดาวในขณะใดขณะหนึ่ง ระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม เวลา 14 น. ถึงวันที่ 14 ธันวาคม เวลา 11 น. กราฟอัตราการเกิดดาวตกอยู่ใกล้จุดสูงสุดเป็นเวลานานเกือบ 1 วัน ทำให้สามารถสังเกตฝนดาวตกคนคู่ในอัตราสูงได้เกือบทั่วทุกลองจิจูดบนโลก จุดกระจายขึ้นมาเหนือขอบฟ้าในเวลา 2 ทุ่ม หลังจากนั้นอัตราตกจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น จากการคำนวณคาดว่าน่าจะสูงเกิน 60 ดวงต่อชั่วโมงตั้งแต่เวลา 5 ทุ่ม และสูงที่สุดในช่วง 02:00 - 04:00 น. โดยอัตราตกสูงสุดอยู่ที่ 90-100 ดวงต่อชั่วโมง ภายใต้ท้องฟ้ามืดและปราศจากเมฆหมอกรบกวน หากสังเกตหลังจากนั้น 1 วัน คือในคืนวันศุกร์ถึงเช้ามืดวันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม อัตราตกในช่วงเวลาเดียวกัน (ตี 2 - ตี 4) จะลดลงเหลือราว 30 ดวงต่อชั่วโมง

ดาวเคราะห์ในเดือนธันวาคม 2554

ดาวเคราะห์

ท้องฟ้าเวลาหัวค่ำของฤดูหนาวนี้ นอกจากดาวฤกษ์สว่างหลายดวง ยังมีดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเด่นอยู่บนท้องฟ้า ดาวศุกร์ปรากฏเป็น "ดาวประจำเมือง" อยู่ทางทิศตะวันตก เยื้องไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ช่วงแรกดาวศุกร์อยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู วันที่ 20 ธันวาคม เคลื่อนเข้าสู่กลุ่มดาวแพะทะเล การที่ดาวศุกร์มีตำแหน่งค่อนไปทางใต้ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ช่วงนี้ดาวศุกร์มีมุมเงยสูงจากขอบฟ้าไม่มากนัก ตลอดเดือนนี้ดาวศุกร์มีขนาดปรากฏใหญ่ขึ้นจาก 11.5 ไปที่ 12.9 พิลิปดา ความสว่างเกือบคงที่ที่โชติมาตร –3.9 พื้นผิวด้านสว่างลดลงจาก 89% ไปที่ 83%
ดาวพฤหัสบดีอยู่ในกลุ่มดาวแกะ ถอยเข้าสู่กลุ่มดาวปลาในต้นเดือนธันวาคม เริ่มเห็นได้บนท้องฟ้าทิศตะวันออกในเวลาหัวค่ำ ต้นเดือนดาวพฤหัสบดีขึ้นไปอยู่สูงกลางฟ้าในเวลา 4 ทุ่ม ตกลับขอบฟ้าในเวลาตี 4 ปลายเดือนอยู่สูงกลางฟ้าในเวลา 1 ทุ่มครึ่ง และตกลับขอบฟ้าในเวลาประมาณตี 2 เดือนนี้ดาวพฤหัสบดีมีขนาดปรากฏเล็กลงจาก 47.5 ไปที่ 43.5 พิลิปดา ความสว่างลดลงจากโชติมาตร –2.8 ไปที่ –2.6
ท้องฟ้าเวลาเช้ามืดของเดือนนี้มีดาวพุธ ดาวอังคาร และดาวเสาร์ อยู่บนท้องฟ้า ดาวพุธอยู่ร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 4 ธันวาคม หลังจากนั้นราวปลายสัปดาห์ที่ 2 หรือต้นสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ดาวพุธจะเริ่มปรากฏใกล้ขอบฟ้าทิศตะวันออก เยื้องไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ โดยอยู่ในทิศทางของกลุ่มดาวแมงป่อง ช่วงวันที่ 10-31 ธันวาคม ดาวพุธมีขนาดเล็กลงจาก 9.2 ไปที่ 5.8 พิลิปดา ความสว่างเพิ่มขึ้นจากโชติมาตร +1.7 ไปที่ –0.4 พื้นผิวด้านสว่างเพิ่มขึ้นจาก 13% ไปที่ 79% สว่างครึ่งดวงในวันที่ 19 ธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงไม่กี่วันก่อนที่ดาวพุธจะทำมุมห่างดวงอาทิตย์ที่สุด
ดาวอังคารอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต ต้นเดือนธันวาคม 2554 ดาวอังคารจะทำมุม 90° กับดวงอาทิตย์ โดยห่างดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันตก ทำให้ดาวอังคารขึ้นเหนือฟ้าก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น 6 ชั่วโมง คือเวลาประมาณเที่ยงคืน จากนั้นขึ้นไปอยู่สูงเหนือศีรษะในเวลาเช้ามืด ขนาดปรากฏและความสว่างของดาวอังคารกำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เดือนนี้ขนาดใหญ่ขึ้นจาก 7.1 ไปที่ 8.9 พิลิปดา ความสว่างเพิ่มขึ้นจากโชติมาตร +0.8 ไปที่ +0.2 ช่วงนี้คาดว่ามีน้ำแข็งปกคลุมบริเวณขั้วเหนือของดาวอังคาร ซึ่งกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายสูงอาจส่องเห็นได้
ดาวเสาร์อยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาวบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด ต้นเดือนดาวเสาร์จะขึ้นมาที่มุมเงย 10° จากขอบฟ้าทิศตะวันออกในเวลาประมาณตี 4 และขึ้นไปอยู่สูงที่มุมเงยประมาณ 30° ในช่วงฟ้าสาง ปลายเดือนเริ่มเห็นได้ตั้งแต่เวลาประมาณตี 2 ครึ่ง และทำมุมสูงราว 50° ขณะท้องฟ้าเริ่มสว่าง ตลอดเดือนนี้ขนาดปรากฏตามแนวศูนย์สูตรของดาวเสาร์เพิ่มขึ้นจาก 16.0 ไปที่ 16.7 พิลิปดา สว่างที่โชติมาตร +0.7 วงแหวนดาวเสาร์เอียงทำมุมมากขึ้นเรื่อย ๆ เดือนนี้ทำมุม 14°-15° กับแนวเล็ง
ดาวยูเรนัส (โชติมาตร +5.8) อยู่ในกลุ่มดาวปลา ดาวเนปจูน (โชติมาตร +7.9) อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ สังเกตได้ด้วยกล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์ในสถานที่และเวลาที่ท้องฟ้ามืดสนิท ไม่มีแสงรบกวน เวลาที่สังเกตได้ดีที่สุดคือเวลาที่ท้องฟ้าเริ่มมืดสนิทหลังสิ้นแสงสนธยา กลางเดือนธันวาคมนี้ดาวเนปจูนมีมุมเงยต่ำกว่า 15° ในเวลาประมาณ 3 ทุ่มครึ่ง ส่วนดาวยูเรนัสสามารถสังเกตได้จนถึงเวลาประมาณ 5 ทุ่มครึ่ง แผนที่ตำแหน่งดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน ดูที่ดาวเคราะห์ในปี 2554

ดวงจันทร์

สองสัปดาห์แรกเป็นข้างขึ้น ดวงจันทร์สว่างครึ่งดวงในวันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม หัวค่ำวันอังคารที่ 6 ธันวาคม จะเห็นดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีที่ระยะห่าง 5° ค่ำวันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม ดวงจันทร์อยู่ระหว่างดาวอัลเดบารันกับกระจุกดาวลูกไก่ ห่างดาวอัลเดบารัน 8° ห่างกระจุกดาวลูกไก่ 6° คืนวันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม ซึ่งตรงกับวันรัฐธรรมนูญเป็นคืนวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย เกิดจันทรุปราคาในช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืนครึ่ง บังหมดดวงในช่วงเวลา 21:06-21:57 น. ทำให้ดวงจันทร์กลายเป็นสีแดงอิฐ
เช้ามืดวันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม ดวงจันทร์สว่างค่อนดวงอยู่ใกล้ดาวหัวใจสิงห์ที่ระยะห่าง 5° วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม ดวงจันทร์เคลื่อนไปอยู่ใกล้ดาวอังคารที่ระยะห่าง 9° จากนั้นสว่างครึ่งดวงในวันอาทิตย์ เช้ามืดวันอังคารที่ 20 ธันวาคม จันทร์เสี้ยวอยู่ทางขวามือของดาวรวงข้าว 2° ขณะนั้นดาวเสาร์อยู่ทางซ้ายมือ เยื้องไปทางด้านล่างของดาวรวงข้าว 5.6°
วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม ใกล้ขอบฟ้าจะเห็นจันทร์เสี้ยวอยู่ทางขวามือของดาวพุธที่ระยะห่าง 3° โดยมีดาวแอนทาเรสอยู่ด้านล่างเยื้องไปทางขวามือของดวงจันทร์ที่ระยะ 5° วันนั้นเป็นวันที่ดาวพุธทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์ที่สุด และน่าจะเป็นวันสุดท้ายที่เห็นดวงจันทร์ในเวลาเช้ามืด
จันทร์ดับเดือนนี้เกิดขึ้นในเวลาประมาณตี 1 ของวันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พลบค่ำวันเดียวกัน หากท้องฟ้าโปร่ง ปราศจากเมฆหมอกบดบัง และไม่มีสิ่งปลูกสร้าง ภูเขา หรือต้นไม้กีดขวาง กล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์อาจช่วยให้เห็นดวงจันทร์เป็นเสี้ยวบางเฉียบ อยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้าในทิศทางเดียวกับทิศที่ดวงอาทิตย์ตก ค่ำวันอังคารที่ 27 ธันวาคม จันทร์เสี้ยวอยู่ทางขวามือของดาวศุกร์ คืนนั้นดวงจันทร์อยู่ห่างดาวศุกร์ 6° ตกลับขอบฟ้าเกือบพร้อมกันในเวลาประมาณ 2 ทุ่มครึ่ง หลังจากนั้น ดวงจันทร์จะมีส่วนสว่างเพิ่มขึ้นจนสว่างครึ่งดวงในคืนวันปีใหม่

จันทรุปราคาเต็มดวง : 10 ธันวาคม 2554

พ.ศ. 2554 มีจันทรุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้น 2 ครั้ง ประเทศไทยมีโอกาสเห็นได้ทั้ง 2 ครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อคืนวันที่ 15 มิถุนายน (เข้าสู่เช้ามืดวันที่ 16 มิถุนายน) ซึ่งมีรายงานว่าหลายพื้นที่ในประเทศไทยไม่สามารถมองเห็นได้ เนื่องจากเมฆปกคลุมท้องฟ้าเป็นส่วนใหญ่ ครั้งที่ 2 ที่จะเกิดขึ้นในคืนวันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม 2554 มีโอกาสเห็นได้ดีกว่า เนื่องจากเข้าสู่ฤดูหนาว แม้ว่าช่วงเวลามืดเต็มดวงจะสั้นกว่าครั้งที่แล้วมาก

จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งนี้เป็นอุปราคาครั้งสุดท้ายของปี 2554 เกิดขึ้นในคืนวันรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม 2554 ซึ่งปีนี้ตรงกับวันเสาร์ และสำหรับวงการโทรทัศน์แล้วถือเป็นช่วงเวลาที่มีผู้สนใจมากที่สุด (prime time) เนื่องจากคนส่วนใหญ่ยังไม่นอน ต่างกับครั้งที่แล้วที่เกิดในเวลากลางดึก

พื้นที่บนโลกที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้พร้อมประเทศไทย คือ ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา ยุโรป เอเชีย ฮาวาย มหาสมุทรแปซิฟิก และเกือบทั้งหมดของทวีปอเมริกาเหนือ โดยแถบยุโรปและแอฟริกาเกิดปรากฏการณ์ขณะดวงจันทร์ขึ้นในค่ำวันที่ 10 ธันวาคม ส่วนแถบอเมริกาเกิดปรากฏการณ์ขณะดวงจันทร์ตกในเช้ามืดของวันเดียวกัน ตามเวลาท้องถิ่น

จันทรุปราคาเต็มดวง

ภาพ - Akira Fujii
จันทรุปราคา
จันทรุปราคาเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ มาเรียงอยู่ในแนวเดียวกัน จนทำให้ดวงจันทร์ผ่านเงาของโลกซึ่งทอดยาวออกไปในอวกาศ เงานี้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เงามืดและเงามัว เงามัวเป็นส่วนที่จางมาก เรามักสังเกตไม่เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงกับดวงจันทร์ขณะที่ดวงจันทร์อยู่ในเงามัว ยกเว้นกรณีที่ดวงจันทร์อยู่ในเงาลึกมากพอ (โดยทั่วไปคือเวลาที่เงามัวกินพื้นที่มากกว่า 2 ใน 3 ของผิวด้านสว่างของดวงจันทร์)

หากดวงจันทร์ทั้งดวงเคลื่อนผ่านเข้าไปในเงามืด เรียกว่าจันทรุปราคาเต็มดวง เฉลี่ยเกิดขึ้นประมาณ 70 ครั้งต่อศตวรรษ จันทรุปราคาหลายครั้งที่มีเพียงบางส่วนของดวงจันทร์เท่านั้นที่ผ่านเข้าไปในเงามืด เรียกว่าจันทรุปราคาบางส่วน เฉลี่ยเกิดขึ้นประมาณ 84 ครั้งต่อศตวรรษ (สถิติในช่วง 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถึง ค.ศ. 3000)

สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งบนพื้นโลกไม่สามารถสังเกตจันทรุปราคาได้ทุกครั้ง ขึ้นอยู่กับว่าขณะเกิดปรากฏการณ์เป็นเวลากลางคืนในท้องถิ่นนั้น ๆ หรือไม่ เพราะเมื่อเกิดจันทรุปราคาแล้ว เฉพาะซีกโลกด้านกลางคืนเท่านั้นที่สังเกตปรากฏการณ์นี้ได้ แต่นั่นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เรามีโอกาสเห็นจันทรุปราคาได้บ่อยกว่าสุริยุปราคา ซึ่งสำหรับสุริยุปราคา เขตที่มีโอกาสเห็นสุริยุปราคากินพื้นที่เพียงบางส่วนของผิวโลกเท่านั้น ไม่ใช่ซีกโลกด้านกลางวันทั้งหมด

ลำดับเหตุการณ์
จันทรุปราคาครั้งนี้เริ่มขึ้นเมื่อดวงจันทร์สัมผัสเงามัวของโลกในเวลา 18:34 น. แต่จะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นกับดวงจันทร์ จนกระทั่งดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกมากพอ ราว 1 ทุ่มครึ่ง หรือก่อนหน้านั้นไม่นาน อาจเริ่มสังเกตว่าพื้นผิวดวงจันทร์โดยรวมดูหมองคล้ำลงเล็กน้อย โดยเฉพาะทางด้านทิศตะวันออกของดวงจันทร์ ซึ่งก็คือด้านล่าง หรือด้านที่หันเข้าหาขอบฟ้า

จันทรุปราคาบางส่วนเริ่มขึ้นเวลา 19:46 น. เป็นจังหวะที่ดวงจันทร์เริ่มสัมผัสเงามืดของโลก ขอบด้านตะวันออกของดวงจันทร์จะเริ่มแหว่ง ขณะนั้นดวงจันทร์อยู่บนท้องฟ้าทิศตะวันออก เยื้องไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีมุมเงยสูงจากขอบฟ้าเกือบ 30° ดาวพฤหัสบดีอยู่สูงขึ้นไปเกือบถึงจุดเหนือศีรษะ ส่วนดาวศุกร์ใกล้จะตกลับขอบฟ้าหรือตกลับขอบฟ้าไปแล้วสำหรับบางพื้นที่

ดวงจันทร์จะเข้าไปในเงามืดลึกมากขึ้นเรื่อย ๆ ถูกบังครึ่งดวงเมื่อใกล้เวลา 2 ทุ่มครึ่ง จากนั้นเริ่มบังหมดทั้งดวงในเวลา 21:06 น. นับเป็นเวลาที่เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง

ดวงจันทร์ถูกเงาโลกบดบังทั้งดวง แต่เรายังสามารถมองเห็นดวงจันทร์ได้ โดยพื้นผิวดวงจันทร์อาจมีสีน้ำตาล สีส้ม หรือสีแดงอิฐ และอาจมีสีเหลืองหรือฟ้าปะปนอยู่ได้เล็กน้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะในบรรยากาศโลกตรงบริเวณรอยต่อระหว่างด้านกลางวันกับกลางคืนของโลก แสงอาทิตย์ที่หักเหและกระเจิงขณะเดินทางผ่านบรรยากาศโลก เป็นสาเหตุที่ทำให้ดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงไม่มืดสนิท

เวลา 21:32 น. ดวงจันทร์เข้าใกล้ศูนย์กลางเงาโลกมากที่สุด คาดหมายได้ว่าเป็นเวลาที่ดวงจันทร์มืดคล้ำที่สุด (หากท้องฟ้าเปิดตลอดปรากฏการณ์) โดยขอบด้านทิศเหนือ (ซ้ายมือ) น่าจะคล้ำกว่าด้านทิศใต้ เนื่องจากอยู่ใกล้ศูนย์กลางเงามากกว่า นอกจากนี้ พื้นที่ที่เรียกว่ามาเร (ทะเล) ซึ่งเป็นส่วนคล้ำบนดวงจันทร์ ก็อยู่ในบริเวณด้านทิศเหนือมากกว่าด้านทิศใต้

จันทรุปราคาเต็มดวงสิ้นสุดลงในเวลา 21:57 น. รวมเวลาที่ดวงจันทร์ทั้งดวงอยู่ในเงามืดของโลกนาน 51 นาที หลังจากนั้น ดวงจันทร์จะเคลื่อนออกจากเงามืด ใช้เวลาอีกเกือบ 1 ชั่วโมงครึ่ง ดวงจันทร์จึงจะกลับมาเต็มดวงในเวลา 23:18 น. ขณะนั้นดวงจันทร์อยู่สูงเกือบถึงจุดเหนือศีรษะ มองต่ำลงมาทางทิศตะวันตกจะเห็นดาวพฤหัสบดีอยู่ที่มุมเงยประมาณ 50°-60°

หลังสิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วนในเวลา 5 ทุ่มเศษ แม้ว่าดวงจันทร์จะเต็มดวง ไม่มีส่วนแหว่งเว้าแล้ว แต่ดวงจันทร์จะยังไม่สว่างเต็มที่ พื้นผิวของดวงจันทร์จะหมองคล้ำอยู่เล็กน้อยต่อไปอีกราวครึ่งชั่วโมง เพราะยังอยู่ในเงามัวของโลก หลังจากนั้นเราจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นกับดวงจันทร์อีก จันทรุปราคาครั้งนี้จะสิ้นสุดลงอย่างสมบูรณ์เมื่อดวงจันทร์ทั้งดวงออกจากเงามัวในเวลา 00:30 น.

จันทรุปราคาเต็มดวง 10 ธันวาคม 2554

เส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์และแผนที่แสดงการเห็นจันทรุปราคาในส่วนต่าง ๆ ของโลก


ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 10 ธันวาคม 2554
เหตุการณ์ เวลา มุมเงยของดวงจันทร์(ที่กรุงเทพฯ)
1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก (ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง) 18:34 น. 11°
2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน (ดวงจันทร์เริ่มแหว่ง) 19:46 น. 27°
3. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง (ดวงจันทร์เข้าสู่เงามืดทั้งดวง) 21:06 น. 45°
4. กึ่งกลางของปรากฏการณ์ (ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด) 21:32 น. 51°
5. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง (ดวงจันทร์เริ่มออกจากเงามืด) 21:57 น. 56°
6. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน (ดวงจันทร์ทั้งดวงออกจากเงามืด) 23:18 น. 74°
7. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 00:30 น. 81°

ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง
ช่วงที่เกิดจันทรุปราคาในคืนวันที่ 10 ธันวาคม 2554 ดวงจันทร์อยู่ในกลุ่มดาววัว บริเวณรอบ ๆ มีดาวฤกษ์สว่างอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากสามเหลี่ยมฤดูหนาว (Winter triangle) ซึ่งประกอบด้วยดาวซิริอัสในกลุ่มดาวหมาใหญ่ ดาวโพรซิออนในกลุ่มดาวหมาเล็ก และดาวเบเทลจุสในกลุ่มดาวนายพราน ยังมีดาว 6 ดวง เรียงกันเป็นหกเหลี่ยมที่เรียกว่าหกเหลี่ยมฤดูหนาว (Winter Hexagon) ได้แก่ ดาวซิริอัสในกลุ่มดาวหมาใหญ่ ดาวโพรซิออนในกลุ่มดาวหมาเล็ก ดาวพอลลักซ์ในกลุ่มดาวคนคู่ ดาวคาเพลลาในกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ ดาวอัลเดบารันในกลุ่มดาววัว และดาวไรเจลในกลุ่มดาวนายพราน (วนตามเข็มนาฬิกา) ดวงจันทร์อยู่ในหกเหลี่ยมนี้ โดยค่อนไปทางดาวอัลเดบารัน สูงขึ้นไปจะเห็นกระจุกดาวลูกไก่อยู่ห่างดวงจันทร์เกือบ 20°
ท้องฟ้าขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 10 ธันวาคม 2554


สีและความสว่างของดวงจันทร์
สีและความสว่างของดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงในแต่ละครั้งมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ระยะห่างระหว่างดวงจันทร์กับศูนย์กลางเงา ปริมาณเมฆและฝุ่นละอองในบรรยากาศโลกตรงบริเวณรอยต่อระหว่างด้านกลางวันกับด้านกลางคืนของโลก

เราสามารถบอกความสว่างและสีของดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงได้ด้วยมาตราดังชง (Danjon scale) โดยทำการสังเกตดวงจันทร์ด้วยตาเปล่า มาตรานี้ตั้งชื่อตาม อองเดร ดังชง (André-Louis Danjon) นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสที่เป็นผู้ริเริ่ม เรียกย่อ ๆ ว่าค่าแอล (L) มีค่าจาก 0 ถึง 4 ดังตาราง โดยสามารถประมาณค่าเป็นทศนิยมได้

L ความสว่างและสีของดวงจันทร์
0 ดวงจันทร์มืดมาก เกือบมองไม่เห็น
1 ดวงจันทร์มืด มีสีเทาหรือน้ำตาล มองเห็นรายละเอียดบนพื้นผิวได้ยาก
2 ดวงจันทร์มีสีแดงเข้ม หรือสีสนิมเหล็ก บริเวณใกล้ใจกลางมืดมาก แต่ขอบดวงจันทร์สว่าง
3 ดวงจันทร์มีสีแดงอิฐ ขอบเงามืดมีสีเหลืองหรือสว่าง
4 ดวงจันทร์มีสีทองแดงหรือสีส้ม ดวงจันทร์สว่างมาก ขอบเงามืดมีสีฟ้าและสว่างมาก

ถ้าจะให้ได้ข้อมูลละเอียดที่สุด อาจทำการประมาณค่าแอลทุก ๆ 10-20 นาที นับตั้งแต่ดวงจันทร์เข้าสู่เงามืดทั้งดวง ทั้งนี้การประมาณค่าแอลมีโอกาสผิดพลาดได้ หากขณะนั้นมีเมฆหรือหมอกควันบดบังดวงจันทร์ ซึ่งจะทำให้ดวงจันทร์ดูมืดสลัวกว่าความเป็นจริง


จันทรุปราคาเต็มดวงในวันที่ 10 ธันวาคม 2554 อาจมีลักษณะคล้ายจันทรุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2540 (ในภาพ) เนื่องจากมีเส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์เทียบกับเงาอยู่ในรูปแบบใกล้เคียงกัน (ภาพ – ประพีร์ วิราพร/กฤษดา โชคสินอนันต์/ปณัฐพงศ์ จันทรวัฒนาวณิช/พรชัย อมรศรีจิรทร)

จันทรุปราคาครั้งถัดไป
จันทรุปราคาครั้งถัดไปสำหรับประเทศไทยเป็นจันทรุปราคาบางส่วน 2 ครั้ง (ไม่นับจันทรุปราคาเงามัวซึ่งสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับดวงจันทร์ได้ยาก) ได้แก่ คืนวันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน 2555 และเช้ามืดวันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2556

เราไม่ควรพลาดจันทรุปราคาเต็มดวงที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคมนี้ เพราะทั่วโลกจะไม่มีโอกาสเห็นจันทรุปราคาเต็มดวงอีกเลยจนกระทั่ง พ.ศ. 2557 ปีนั้นและปีถัดไปจะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงรวม 4 ครั้งติดต่อกัน เห็นได้ในประเทศไทย 2 ครั้ง ได้แก่ วันพุธที่ 8 ตุลาคม 2557 (ตรงกับวันออกพรรษา) แต่ช่วงบังหมดดวงอาจสังเกตได้ยากเนื่องจากดวงจันทร์ยังอยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้า และท้องฟ้ายังไม่มืด อีกครั้งในค่ำวันเสาร์ที่ 4 เมษายน 2558

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พบดาวเคราะห์คล้ายโลกแล้ว แต่..

          นับแต่ที่นักดาราศาสตร์ค้นพบเมื่อสองทศวรรษก่อนว่า ดาวฤกษ์ที่มีดาวเคราะห์เป็นบริวารไม่ได้มีแต่เพียงดวงอาทิตย์เท่านั้น ทำให้ความหวังที่จะพบดาวเคราะห์ที่มีสิ่งมีชีวิตนอกเหนือจากโลกของเราได้ทอประกายขึ้นอีกครั้ง 
          แต่ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ที่นักดาราศาสตร์พบมา ซึ่งจนขณะนี้ก็มีกว่า 500 ดวงแล้ว เกือบทั้งหมดมักเป็นดาวเคราะห์แก๊สยักษ์แบบดาวพฤหัสบดี ซึ่งไม่น่าจะมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้ สิ่งที่นักดาราศาสตร์ต้องการหาก็คือ ดาวเคราะห์ที่คล้ายโลก นั่นคือต้องเป็นดาวเคราะห์หิน ไม่ใช่แก๊ส มีขนาดและมวลไม่ต่างจากโลกมากนัก
          ด้วยเหตุนี้ โครงการเคปเลอร์ จึงได้เกิดขึ้น เคปเลอร์เป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศของนาซา มีหน้าที่ค้นหาดาวเคราะห์แบบโลกที่เป็นบริวารของดาวฤกษ์ดวงอื่น กล้องนี้ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อสองปีก่อนด้วยความหวังว่า จะได้พบดาวเคราะห์หินขนาดเล็ก ๆ แบบโลกบ้าง 
          และแล้วเคปเลอร์ก็ไม่ทำให้แฟน ๆ ต้องผิดหวัง หลังจากการเก็บข้อมูลนานกว่าแปดเดือน ในที่สุดก็ได้พบดาวเคราะห์ดวงใหม่ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นที่มีขนาดเล็กมีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่เคยพบมา ดาวเคราะห์ดวงนี้มีชื่อว่า เคปเลอร์-10 บี (Kepler-10b) อยู่ห่างจากโลกไป 560 ปีแสง มีขนาดประมาณ 1.4 เท่าของโลกเท่านั้น ซึ่งถือว่าใกล้เคียงโลกมากที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นเท่าที่เคยพบมา 
          แต่ที่ไม่ใกล้เคียงเลยคืออัตราการโคจรรอบดาวฤกษ์ เวลาหนึ่งปีของดาวเคราะห์ดวงนี้ยาวนานเพียง 0.84 วันของโลกเท่านั้นเอง นั่นเพราะดาวดวงนี้มีรัศมีวงโคจรเล็กมาก เล็กกว่ารัศมีวงโคจรของดาวพุธถึง 23 เท่า และด้วยเหตุที่อยู่ใกล้ดาวฤกษ์มากนี่เอง จึงทำให้มันร้อนมาก อุณหภูมิด้านกลางวันสูงถึง 1,370 องศาเซลเซียส ร้อนพอที่จะหลอมเหล็กได้ แน่นอนว่าไม่ต้องไปถามว่ามีสิ่งมีชีวิตหรือไม่
          แม้การค้นพบครั้งนี้ จะไม่ได้ให้ความหวังอะไรเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต แต่ก็ถือว่าเป็นการค้นพบที่สำคัญยิ่ง เพราะได้แสดงถึงศักยภาพอันโดดเด่นของเคปเลอร์ในการค้นหาดาวเคราะห์ที่มีขนาดใกล้เคียงโลกมากแบบนี้ได้
          วิธีการหาดาวเคราะห์ของเคปเลอร์ใช้หลักการที่เรียกว่า การผ่านหน้า เมื่อดาวเคราะห์ผ่านหน้าดาวฤกษ์ จะบดบังแสงจำนวนส่วนหนึ่งไป ซึ่งตรวจจับได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ที่มีความไวแสงสูงมาก การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงความเข้มแสงจะบอกได้ว่าวัตถุที่มาบังนั้นมีคาบโคจรเท่าใด รวมถึงขนาดและมวลด้วย 
          เคปเลอร์มีอาวุธเด็ดคือกล้องที่มีเซนเซอร์ซีซีดี 95 เมกะพิกเซล ซึ่งเป็นกล้องที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยขึ้นสู่อวกาศ
นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังพบหลักฐานว่าระบบสุริยะของ เคปเลอร์-10 นี้อาจมีดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่งร่วมอยู่ด้วย สมมุติฐานนี้มาจากการพบเหตุการณ์ที่คล้ายกับมีดาวเคราะห์ดวงหนึ่งเคลื่อนผ่านหน้าดาวฤกษ์ทุก 45 วัน ดาวเคราะห์ดวงนี้อาจมีขนาดใหญ่กว่าโลกสองเท่าเศษ แต่หลักฐานส่วนนี้ยังไม่หนักแน่นเท่าดวงแรก

ที่มา:

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

ดาราศาสตร์ รูปถ่ายต่างๆ





ดาวแคระน้ำตาล

นักดาราศาสตร์ใช้กล้องวีแอลทีของอีเอสโอพบว่าดาวแคระน้ำตาลที่มีมวลเพียง 24

พบดาวแคระขาวคู่

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาวคู่ใหม่ 12 คู่ ที่ครึ่งหนึ่งในจำนวนนี้กำลังหลอมรวมเข้าเป็นดวงเดียวกัน และอาจระเบิดออกเป็นซูเปอร์โนวาในอนาคตอันใกล้นี้
          นักดาราศาสตร์ผู้ค้นพบในครั้งนี้ เป็นคณะเดียวกับที่เคยพบดาวฤกษ์ความเร็วสูงดวงแรกที่กำลังหลุดออกจากดาราจักรทางช้างเผือก และการค้นพบครั้งนี้ ก็เป็นการค้นพบโดยบังเอิญ เพราะพบในขณะที่กำลังค้นหาสิ่งอื่นอยู่
          ดาวคู่ที่พบในครั้งนี้ไม่ใช่ดาวคู่ธรรมดา เพราะทั้งหมดเป็นดาวแคระขาวคู่ ดาวแคระขาวเป็นแกนของดาวฤกษ์ประเภทดวงอาทิตย์ที่สิ้นอายุขัยไปแล้ว ขนาดเล็ก แต่ร้อนมาก ดาวแคระขาวที่มีมวลใกล้เคียงดวงอาทิตย์อาจมีขนาดเพียงประมาณโลกเท่านั้น จึงมีความหนาแน่นสูงมาก เนื้อของดาวแคระขาวหนึ่งช้อนชาอาจหนักถึงกว่าตัน
          เท่านั้นยังแปลกไม่พอ นักดาราศาสตร์ยังพบว่าดาวแคระขาวคู่เหล่านี้แต่ละคู่โคจรรอบกันเองด้วยระยะห่างน้อยกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ ยิ่งกว่านั้น แต่ละดวงก็มีมวลน้อยกว่าดาวแคระขาวทั่วไป นั่นคือมีมวลประมาณหนึ่งในห้าของดวงอาทิตย์ และองค์ประกอบของดาวก็ประกอบด้วยฮีเลียมเกือบทั้งหมด ในขณะที่ดาวแคระขาวทั่วไปมักมีองค์ประกอบเป็นคาร์บอนและออกซิเจน
          คาร์ลอส อัลเลนเด ปรีเอโต จากสถาบันฟิสิกส์ดาราศาสตร์แห่งหมู่เกาะคะเนรีในสเปนอธิบายว่า การที่ดาวแคระขาวพวกนี้โคจรรอบกันด้วยระยะใกล้มาก ทำให้แรงน้ำขึ้นลงมหาศาลฉีกทึ้งเนื้อดาวออกไปมากจนทำให้ดาวแคราะขาวยิ่งแคระลงไปอีก
          ที่น่าสนใจก็คือ การที่ดาวแคระขาวพวกนี้โคจรกันในระยะใกล้มาก ทำให้ปริภูมิเวลา (spacetime) โดยรอบของดาวกระเพื่อมและแผ่ออกไปเป็นคลื่น ดังที่รู้จักกันในชื่อ คลื่นความโน้มถ่วง  คลื่นนี้ได้นำพลังงานการโคจรออกไปด้วย ทำให้ดาวแคระขาวทั้งสองยิ่งเข้าใกล้กันมากขึ้น คาดว่าราวครึ่งหนึ่งของระบบดาวแคระขาวคู่ที่พบนี้ จะจบลงด้วยการชนและหลอมรวมกัน คู่ที่ใกล้กันมากที่สุดที่พบโคจรรอบกันครบรอบในเวลาเพียงหนึ่งชั่วโมง คาดว่าคู่นี้จะหลอมรวมกันภายในเวลาอีก 100 ล้านปีข้างหน้า
เมื่อดาวแคระขาวสองดวงรวมตัวกัน มวลรวมของทั้งสองจะเกินค่าวิกฤต ทำให้ระเบิดออกเป็นซูเปอร์โนวาชนิด 1 เอ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าดาวแคระขาวชนกันน่าจะเป็นต้นกำเนิดแบบหนึ่งของซูเปอร์โนวาจาง ซึ่งเป็นซูเปอร์โนวาหายากชนิดหนึ่ง ที่มีกำลังส่องสว่างน้อยกว่าซูเปอร์โนวาชนิด 1 เอทั่วไปถึง 100 เท่า และสาดมวลสารออกมาน้อยกว่าถึงห้าเท่า สมมุติฐานนี้น่าสนใจ เพราะอัตราเกิดดาวแคระขาวชนกันกับอัตราการเกิดซูเปอร์โนวาจางเท่ากัน นั่นคือเกิดขึ้นทุก 2,000 ปี แม้จะยังยืนยันไม่ได้ว่าดาวแคระขาวชนกันจะทำให้เกิดซูเปอร์โนวาจางจริง แต่อัตราเกิดที่เท่ากันก็น่าคิดอย่างยิ่ง

ที่มา:


ฝนดาวตกในปี 2554



 ดาวตกเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ เรามีโอกาสเห็นดาวตกได้ทุกคืน แสงของดาวตกเกิดจากการที่สะเก็ดดาว (meteoroid) ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของดาวหางและดาวเคราะห์น้อยเคลื่อนเข้าสู่บรรยากาศโลก หากสังเกตจากสถานที่ซึ่งท้องฟ้ามืดสนิท ไม่มีเมฆหมอก แสงจันทร์ และแสงไฟฟ้ารบกวน โดยทั่วไปสามารถมองเห็นดาวตกบนท้องฟ้าได้เฉลี่ยราว 6 ดวงต่อชั่วโมง ดาวตกที่สว่างมาก ๆ เรียกว่าลูกไฟ (fireball)
เส้นทางที่สะเก็ดดาวจำนวนมากเคลื่อนที่เป็นสายไปในแนวเดียวกันในอวกาศเรียกว่าธารสะเก็ดดาว (meteoroid stream) แรงโน้มถ่วงของวัตถุต่าง ๆ ในระบบสุริยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดาวเคราะห์ ส่งผลรบกวนต่อธารสะเก็ดดาว เมื่อโลกเดินทางฝ่าเข้าไปในธารสะเก็ดดาว ซึ่งเกิดขึ้นหลายช่วงของปี จะทำให้เห็นดาวตกหลายดวงดูเหมือนพุ่งออกมาจากบริเวณเดียวกันบนท้องฟ้า (เป็นมุมมองในเชิงทัศนมิติ ลักษณะเดียวกับที่เราเห็นรางรถไฟบรรจบกันที่ขอบฟ้า) เรียกปรากฏการณ์นี้ว่าฝนดาวตก (meteor shower) ในรอบปีมีฝนดาวตกหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีลักษณะและจำนวนความถี่แตกต่างกันตามแต่องค์ประกอบและความเร็วของสะเก็ดดาว ฝนดาวตกบางกลุ่มอาจมีเพียงไม่กี่ดวงต่อชั่วโมง แต่ยังก็เรียกว่าฝนดาวตก
ดาวตกจากฝนดาวตกสามารถปรากฏในบริเวณใดก็ได้ทั่วท้องฟ้า แต่เมื่อลากเส้นย้อนไปตามแนวของดาวตก จะไปบรรจบกันที่จุดหนึ่ง เรียกจุดนั้นว่าจุดกระจายฝนดาวตก (radiant) ชี่อฝนดาวตกมักตั้งตามกลุ่มดาวหรือดาวที่อยู่บริเวณจุดกระจายนี้ แสงจันทร์และแสงจากตัวเมืองเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการสังเกตดาวตก จึงควรหาสถานที่ที่ฟ้ามืด ยิ่งฟ้ามืดก็จะยิ่งมีโอกาสเห็นดาวตกมากขึ้น
การสังเกตดาวตกด้วยตาเปล่าเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ไม่ต้องมีอุปกรณ์ใด ๆ เพียงแต่ต้องเตรียมตัวรับกับสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมตามสถานการณ์ ก่อนสังเกตดาวตกต้องรอให้ดวงตาของเราชินกับความมืดเสียก่อนซึ่งใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที นอกจากการสังเกตด้วยตาเปล่า นักดาราศาสตร์ยังใช้กล้องโทรทรรศน์ กล้องสองตา การถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอ และการสังเกตด้วยคลื่นวิทยุ แม้ว่าขอบเขตภาพของกล้องโทรทรรศน์และกล้องสองตาจะแคบกว่าการดูด้วยตาเปล่า แต่ก็ช่วยให้มองเห็นดาวตกที่จาง ๆ ได้ และมักใช้หาตำแหน่งที่แม่นยำของจุดกระจาย
ภาพถ่ายดาวตกช่วยให้นักดาราศาสตร์สามารถคำนวณตำแหน่งที่แม่นยำของมันได้ เลนส์ปกติมีศักยภาพในการจับภาพดาวตกที่สว่างกว่าโชติมาตร 1 ภาพดาวตกดวงเดียวกันจากจุดสังเกตการณ์หลายจุด สามารถใช้คำนวณหาเส้นทางการโคจรของสะเก็ดดาวในอวกาศ การบันทึกภาพดาวตกด้วยกล้องถ่ายวิดีโอก็ใช้ในการศึกษาดาวตกด้วยเช่นกัน แต่ต้องมีอุปกรณ์ช่วยเพิ่มความเข้มของแสง ควันค้าง (persistent train) คือ ปรากฏการณ์ที่ดูเหมือนควันลอยค้างบนท้องฟ้าตรงจุดที่ดาวตกหายวับไป ศัพท์คำนี้ยังไม่มีการใช้แพร่หลายในภาษาไทย จึงขอเรียกว่าควันค้างตามลักษณะที่ปรากฏไปพลางก่อน ควันค้างเกิดจากการเรืองแสงในบรรยากาศชั้นบน โดยมีดาวตกเป็นตัวการทำให้โมเลกุลในบรรยากาศแตกตัวเป็นไอออน ความเข้มและอายุของควันค้างขึ้นอยู่กับขนาด องค์ประกอบ และความเร็วของดาวตก ลูกไฟซึ่งเกิดจากสะเก็ดดาวขนาดใหญ่มักก่อให้เกิดควันค้างอยู่อย่างนั้นนานหลายนาที ก่อนจะเปลี่ยนรูปร่าง จางลง และสลายตัวไปในที่สุด
ฝนดาวตกในปี 2554
ฝนดาวตกช่วงที่ตกคืนที่มีมากที่สุดเวลาที่เริ่มเห็น
(ประมาณ)
อัตราสูงสุด
ในภาวะอุดมคติ
(ดวง/ชั่วโมง)
อัตราสูงสุด
ในประเทศไทย
(ดวง/ชั่วโมง)
หมายเหตุ
ควอดแดรนต์28 ธ.ค. - 12 ม.ค.3/4 ม.ค.02:00 น.12051-
พิณ16-25 เม.ย.22/23 เม.ย.22:00 น.185แสงจันทร์รบกวน
อีตาคนแบกหม้อน้ำ19 เม.ย. - 28 พ.ค.7/8 พ.ค.02:00 น.8520-
เดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้12 ก.ค. - 19 ส.ค.28/29 ก.ค.21:00 น.1615-
เพอร์ซิอัส17 ก.ค. - 24 ส.ค.12/13 ส.ค.22:30 น.10044แสงจันทร์รบกวน
นายพราน2 ต.ค. - 7 พ.ย.22/23 ต.ค.22:30 น.3019แสงจันทร์รบกวนหลังตี 2
สิงโต10-23 พ.ย.16/17 พ.ย.00:30 น.202แสงจันทร์รบกวน
คนคู่7-17 ธ.ค.14/15 ธ.ค.20:00 น.12030แสงจันทร์รบกวน

หมายเหตุ
  • ภาวะอุดมคติหมายถึงจุดกระจายฝนดาวตกอยู่ที่จุดเหนือศีรษะและท้องฟ้ามืดจนเห็นดาวได้ถึงโชติมาตร +6.5
  • ตัวเลขในคอลัมน์อัตราสูงสุดในประเทศไทย คิดผลจากแสงจันทร์รบกวนแล้ว แต่ยังไม่คิดผลจากมลพิษทางแสง การสังเกตดาวตกในเมืองใหญ่จะมีจำนวนดาวตกลดลงจากตัวเลขในตารางนี้หลายเท่า
  • คอลัมน์ "คืนที่มีมากที่สุด" เครื่องหมาย / ใช้คั่นคืนวันแรกกับเช้ามืดของอีกวันหนึ่ง เช่น 3/4 หมายถึงคืนวันที่ 3 ถึงเช้ามืดวันที่ 4
  • ดัดแปลงจากข้อมูลฝนดาวตกโดยองค์การอุกกาบาตสากล (International Meteor Organization - IMO) และ Meteor Shower Flux Estimator โดย Peter Jenniskens

ฝนดาวตกควอดแดรนต์




 ฝนดาวตกก่อนรุ่งอรุณ หรือฝนดาวตกควอดแดรนท์ 




          ฝนดาวตกควอดแดรนต์ตั้งชื่อตามกลุ่มดาวควอดแดรนต์ (Quadrans Muralis) ซึ่งเป็นกลุ่มดาวเก่า ปัจจุบันไม่มีแล้ว จุดกระจายดาวตกอยู่บริเวณตรงกลางระหว่างกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส คนเลี้ยงสัตว์ และมังกร ฝนดาวตกควอดแดรนต์มีจำนวนสูงสุดราววันที่ 3-4 มกราคม ของทุกปี ประเทศที่เห็นฝนดาวตกกลุ่มนี้ได้ดีที่สุดคือประเทศในละติจูดสูง ๆ ของซีกโลกเหนือ
          นักดาราศาสตร์ค้นพบฝนดาวตกควอดแดรนต์เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ไม่พบว่าวัตถุใดคือต้นกำเนิดของมัน จนกระทั่ง ค.ศ. 2003 เมื่อมีการค้นพบดาวเคราะห์น้อย 2003 อีเอช 1 (2003 EH1) ซึ่งมีวงโคจรใกล้เคียงกับดาวตกที่มาจากฝนดาวตกกลุ่มนี้ และยังพบว่ามันอาจเป็นชิ้นส่วนหรือเป็นวัตถุเดียวกับดาวหาง C/1490 Y1 ที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์เมื่อปลาย ค.ศ. 1490 อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติของฝนดาวตกควอดแดรนต์สูงถึง 120 ดวงต่อชั่วโมง แต่มีช่วงเวลาสั้น แสดงว่าธารสะเก็ดดาวค่อนข้างแคบมาก
          ปีนี้คาดว่าโลกจะผ่านธารสะเก็ดดาวในช่วงเช้ามืดวันอังคารที่ 4 มกราคม 2554 ตามเวลาประเทศไทย ทำให้คาดหมายว่าประเทศแถบเอเชียตะวันออกจะสามารถสังเกตดาวตกจากฝนดาวตกกลุ่มนี้ได้ค่อนข้างมาก ประเทศไทยเริ่มตั้งแต่ตี 2 โดยอัตราตกจะต่ำมากในช่วงแรก หลังจากนั้นค่อย ๆ เพิ่มขึ้น เวลาที่น่าจะพบเห็นดาวตกได้มากที่สุดคือช่วง 04:30 - 05:30 น. ภายใต้ฟ้ามืด ในหนึ่งชั่วโมงนี้อาจนับได้ราว 50 ดวง หากอากาศหนาวควรเตรียมตัวให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ

ฝนดาวตกเพอร์ซิอัส





ฝนดาวตกเพอร์ซิอัส (Perseid meteor shower) ดาวตกเกือบครึ่งหนึ่งของฝนดาวตกกลุ่มนี้สว่างมาก ส่วนใหญ่มีสีขาว-เหลือง


               ฝนดาวตกเพอร์ซิอัสหรือฝนดาวตกวันแม่ เป็นฝนดาวตกที่มีชื่อเสียงในประเทศตะวันตก โดยเฉพาะในละติจูดสูง ๆ ทางเหนือ ซึ่งจุดกระจายดาวตกจะขึ้นไปอยู่สูงเกือบกลางฟ้าในเวลาเช้ามืด อัตราการเกิดดาวตกสูงถึงกว่า 100 ดวงต่อชั่วโมง และเกิดในฤดูร้อนซึ่งท้องฟ้าโปร่ง แต่การสังเกตฝนดาวตกกลุ่มนี้ในประเทศไทยมักพบอุปสรรคจากเมฆเพราะเป็นฤดูฝน
              สะเก็ดดาวในฝนดาวตกเพอร์ซิอัสมาจากดาวหางสวิฟต์-ทัตเทิล (109P/Swift-Tuttle) ดาวหางดวงนี้เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ครั้งล่าสุดเมื่อ ค.ศ. 1992 มีคาบ 130 ปี เป็นดาวหางที่มีแนวโคจรผ่านใกล้โลก จุดกระจายของฝนดาวตกเพอร์ซิอัสอยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างกลุ่มดาวเพอร์ซิอัสกับแคสซิโอเปีย เริ่มเห็นได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 4 ทุ่มครึ่ง แต่ยังมีดาวตกน้อย จะสังเกตได้ดีหลังเที่ยงคืนและดีที่สุดในช่วงที่จุดกระจายดาวตกอยู่สูงซึ่งตรงกับช่วง 1-2 ชั่วโมงก่อนท้องฟ้าสว่างในเวลาเช้ามืด ความเร็วขณะเข้าสู่บรรยากาศโลกของดาวตกกลุ่มนี้ประมาณ 59 กิโลเมตร/วินาที
ฝนดาวตกเพอร์ซิอัสในปี 2554 มีแสงจันทร์รบกวน แต่อาจพอจะเห็นดาวตกดวงที่สว่าง ๆ ได้บ้างหากท้องฟ้าโปร่ง วิธีสังเกตที่แนะนำคือหันหลังให้ดวงจันทร์ หรือเลือกตำแหน่งที่มีอาคารบ้านเรือนหรือต้นไม้บังทิศที่ดวงจันทร์อยู่ เพื่อไม่ให้แสงจันทร์เข้าตา คาดว่ามีมากที่สุดในคืนวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม


ฝนดาวตกคนคู่

          
             ฝนดาวตกคนคู่เกิดในฤดูหนาวที่ท้องฟ้าเปิดเป็นส่วนใหญ่และมีจำนวนมากหลายสิบดวงต่อชั่วโมง ปีนี้คาดว่าจะมีมากที่สุดในคืนวันอังคารที่ 13 ถึงเช้ามืดวันพุธที่ 14 ธันวาคม แต่แสงจากดวงจันทร์ที่สว่างเกือบเต็มดวงทำให้เห็นดาวตกได้น้อย จุดกระจายฝนดาวตกอยู่ใกล้ดาวคาสเตอร์ในกลุ่มดาวคนคู่ ฝนดาวตกคนคู่เกิดจากดาวเคราะห์น้อย 3200 เฟทอน (3200 Phaethon) ซึ่งน่าจะเคยเป็นดาวหางมาก่อน สามารถสังเกตดาวตกได้ตลอดทั้งคืนโดยเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 2 ทุ่ม จนถึงเช้ามืด มักตกถี่ที่สุดในช่วงประมาณตี 2 ซึ่งเป็นเวลาที่จุดกระจายฝนดาวตกอยู่สูงกลางฟ้า

ฝนดาวตกในปี 2554

ดาวตกเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ เรามีโอกาสเห็นดาวตกได้ทุกคืน แสงของดาวตกเกิดจากการที่สะเก็ดดาว (meteoroid) ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของดาวหางและดาวเคราะห์น้อยเคลื่อนเข้าสู่บรรยากาศโลก หากสังเกตจากสถานที่ซึ่งท้องฟ้ามืดสนิท ไม่มีเมฆหมอก แสงจันทร์ และแสงไฟฟ้ารบกวน โดยทั่วไปสามารถมองเห็นดาวตกบนท้องฟ้าได้เฉลี่ยราว 6 ดวงต่อชั่วโมง ดาวตกที่สว่างมาก ๆ
เรียกว่าลูกไฟ (fireball)เส้นทางที่สะเก็ดดาวจำนวนมากเคลื่อนที่เป็นสายไปในแนวเดียวกันในอวกาเรียกว่าธารสะเก็ดดาว (meteoroid stream) แรงโน้มถ่วงของวัตถุต่าง ๆ ในระบบสุริยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดาวเคราะห์ ส่งผลรบกวนต่อธารสะเก็ดดาว เมื่อโลกเดินทางฝ่าเข้าไปในธารสะเก็ดดาว ซึ่งเกิดขึ้นหลายช่วงของปี จะทำให้เห็นดาวตกหลายดวงดูเหมือนพุ่งออกมาจากบริเวณเดียวกันบนท้องฟ้า (เป็นมุมมองในเชิงทัศนมิติ ลักษณะเดียวกับที่เราเห็นรางรถไฟบรรจบกันที่ขอบฟ้า) เรียกปรากฏการณ์นี้ว่าฝนดาวตก (meteor shower) ในรอบปีมีฝนดาวตกหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีลักษณะและจำนวนความถี่แตกต่างกันตามแต่องค์ประกอบและความเร็วของสะเก็ดดาว ฝนดาวตกบางกลุ่มอาจมีเพียงไม่กี่ดวงต่อชั่วโมง แต่ยังก็เรียกว่าฝนดาวตก
ดาวตกจากฝนดาวตกสามารถปรากฏในบริเวณใดก็ได้ทั่วท้องฟ้า แต่เมื่อลากเส้นย้อนไปตามแนวของดาวตก จะไปบรรจบกันที่จุดหนึ่ง เรียกจุดนั้นว่าจุดกระจายฝนดาวตก (radiant) ชี่อฝนดาวตกมักตั้งตามกลุ่มดาวหรือดาวที่อยู่บริเวณจุดกระจายนี้ แสงจันทร์และแสงจากตัวเมืองเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการสังเกตดาวตก จึงควรหาสถานที่ที่ฟ้ามืด ยิ่งฟ้ามืดก็จะยิ่งมีโอกาสเห็นดาวตกมากขึ้น
การสังเกตดาวตกด้วยตาเปล่าเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ไม่ต้องมีอุปกรณ์ใด ๆ เพียงแต่ต้องเตรียมตัวรับกับสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมตามสถานการณ์ ก่อนสังเกตดาวตกต้องรอให้ดวงตาของเราชินกับความมืดเสียก่อนซึ่งใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที นอกจากการสังเกตด้วยตาเปล่า นักดาราศาสตร์ยังใช้กล้องโทรทรรศน์ กล้องสองตา การถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอ และการสังเกตด้วยคลื่นวิทยุ แม้ว่าขอบเขตภาพของกล้องโทรทรรศน์และกล้องสองตาจะแคบกว่าการดูด้วยตาเปล่า แต่ก็ช่วยให้มองเห็นดาวตกที่จาง ๆ ได้ และมักใช้หาตำแหน่งที่แม่นยำของจุดกระจาย
ภาพถ่ายดาวตกช่วยให้นักดาราศาสตร์สามารถคำนวณตำแหน่งที่แม่นยำของมันได้ เลนส์ปกติมีศักยภาพในการจับภาพดาวตกที่สว่างกว่าโชติมาตร 1 ภาพดาวตกดวงเดียวกันจากจุดสังเกตการณ์หลายจุด สามารถใช้คำนวณหาเส้นทางการโคจรของสะเก็ดดาวในอวกาศ การบันทึกภาพดาวตกด้วยกล้องถ่ายวิดีโอก็ใช้ในการศึกษาดาวตกด้วยเช่นกัน แต่ต้องมีอุปกรณ์ช่วยเพิ่มความเข้มของแสง ควันค้าง (persistent train) คือ ปรากฏการณ์ที่ดูเหมือนควันลอยค้างบนท้องฟ้าตรงจุดที่ดาวตกหายวับไป ศัพท์คำนี้ยังไม่มีการใช้แพร่หลายในภาษาไทย จึงขอเรียกว่าควันค้างตามลักษณะที่ปรากฏไปพลางก่อน ควันค้างเกิดจากการเรืองแสงในบรรยากาศชั้นบน โดยมีดาวตกเป็นตัวการทำให้โมเลกุลในบรรยากาศแตกตัวเป็นไอออน ความเข้มและอายุของควันค้างขึ้นอยู่กับขนาด องค์ประกอบ และความเร็วของดาวตก ลูกไฟซึ่งเกิดจากสะเก็ดดาวขนาดใหญ่มักก่อให้เกิดควันค้างอยู่อย่างนั้นนานหลายนาที ก่อนจะเปลี่ยนรูปร่าง จางลง และสลายตัวไปในที่สุด